วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์



                            
                               
ที่มา : www.sittichai1836.wordpress.com


คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค
ยุคที่หนึ่ง (First Generation Computer) พ.ศ. 2489-2501
ยุคที่สอง (Second Generation Computer) พ.ศ. 2502-2506
ยุคที่สาม (Third Generation Computer) พ.ศ. 2507-2512
ยุคที่สี่ (Fourth Generation Computer) พ.ศ. 2513-2532
ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน


เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ   ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง


·         ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
·         เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
·         มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
·         สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
·         เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3


        คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก
         นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)


·                  ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
·                  ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
·                  ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
                            
          เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้
·         ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
·                  มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
                                   
ที่มา : www.sittichai1836.wordpress.com
  

          ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
        โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล
องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)


           คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System)

          คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
       คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
      คอมพิวเตอร์ ทำงานโดยอาศัยพื้นฐานบนหลักการเดียวกับกระบวนการทำงานของสมอง คือ การสร้างสัญญาณความถี่ไฟฟ้าเทียบเท่าสัญญาณนาฬิกาขึ้นมาชุดหนึ่ง เรียกว่า "คล็อก" (Clock) โดยการกำเนิดความถี่จากการปิด และเปิดไฟฟ้า สลับกันด้วยความเร็วสูง  จากการปิด และเปิดไฟฟ้า ได้ถูกกำหนดค่าไว้เป็น 0 เมื่อปิดไฟฟ้า และ 1 เมื่อเปิดไฟฟ้า เลข 0 กับเลข 1 นี้ เรียกว่า "บิต" (Bite) เมื่อนำค่าของบิตมาวางเรียงกันใน 1 บรรทัด จะประกอบด้วยบิตจำนวน 8 หลัก เรียกว่า "ไบต์" (Byte)
       การจัดวางไบต์ บันทัดบิตแต่ละบันทัด ถูกนำมาวางเรียงไว้เป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 ไบต์ รวมเป็นกลุ่มละ 32 ไบต์ ก่อให้เกิดวรรคช่องว่างระหว่างบันทัดบิต เรียกว่า "อินเตอร์รัพ" (Interrupe) หรือกระบวนการขัดจังหวะภายในไบต์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถแยกจำนวนบิต และคำนวณได้อย่างถูกต้อง
       ดังนั้น คอมพิวเตอร์จะมีขีดความสามารถสูงส่งปานใดก็ตาม แต่ความจริงแล้ว แต่ตัวคอมพิวเตอร์จะรู้จักข้อมูลที่อยู่ในตัวแค่เพียงเลข 0 กับ 1 เท่านั้น
         ในการคำนวณมาตราเมตริกของคอมพิวเตอร์ จะต่างจากการคำนวณเมตริกทั่วไป ซึ่งจะนับจำนวน 1 พันเป็นตัวเปลี่ยนทศนิยม เช่น 1,000 เมตร เท่ากับ 1 กิโลเมตร เป็นต้น
         แต่ในการคำนวณเมตริกของคอมพิวเตอร์นั้น จะใช้จำนวนบิต หรือไบต์ เท่ากับ 1,024 เป็นตัวเปลี่ยนจุดทศนิยม ดังนี้
          1,024  บิต  เท่ากับ  1  กิโลบิต
          1,024  กิโลบิต  เท่ากับ  1  เมกะบิต
          1,024  เมกะบิต  เท่ากับ  1  กีกะบิต
          1,024  กีกะบิต   เท่ากับ   1  เทราบิต
          หากถ้านับควบจำนวนให้เป็นไบต์ ต้องหารด้วย 8 จึงจะทราบจำนวนเป็นไบต์ และหากต้องการแตกจำนวนไบต์ออกมาเป็นบิต ก็จะต้องคูณด้วย 8 จึงจะได้จำนวนบิตที่ต้องการ
          เพียงเท่านี้ คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถที่จะทำงานได้ เพราะคอมพิวเตอร์จะต้องมีขบวนการทำงานที่ซับซ้อนมากมาย จึงจะสามารถสื่อสารข้อมูลกับมนุษย์ได้
          เช่น เมื่อเราป้อนข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ภาพ หรือสัญลักษณ์อันใดเข้าไป คอมพิวเตอร์จะไม่รู้จักข้อมูลที่เราป้อนเข้าไป ในกระบวนการนี้จึงต้องมีกระบวนการแปลภาษา ที่เรียกว่า "อินเดรเตอร์" เป็นตัวกลางในการประมวลผลข้อมูลของมนุษย์ และแปลเป็นภาษาเครื่องจักร ก็คือเลข 0 กับ 1 ก่อน คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจข้อมูลที่เราป้อนเข้าไป และทำงานตามคำสั่งของเราได้อย่างถูกต้อง
        และเมื่อเราเรียกข้อมูลออกมาจากคอมพิวเตอร์ ก็จะต้องผ่านกระบวนการแปลภาษาเครื่องจักรกลับมาเป็นข้อมูลที่เรารู้จักก่อนเช่นกัน
ที่มา:http://www.neutron.rmutphysics.com/


                 บทที่2  ระบบปฏิบัติการคือ 
                 (Operating System) 


ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมควบคุมการทำงาน (ควบคุมการRun) ของโปรแกรมประยุกต์  ทำหน้าที่
โต้ตอบและเป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์และฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ระบบปฏิบัติการ (Operating System :OS) เป็นซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องและอุปกรณ์  ควบคุมและสั่งการให้Hardware สามารถทำงานได้   เช่น ทำหน้าที่ในการตรวจเช็คอุปกรณ์  Keyboard ขณะเปิดเครื่อง  ถ้าผู้ใช้ลืมเสียบสาย Keyboard ที่ port ด้านหลังของเครื่อง ขณะที่ซอฟต์แวร์ระบบตรวจสอบแล้วไม่พบอุปกรณ์เชื่อมต่อดังกล่าว จะมีข้อความแจ้งเตือนความผิดพลาด  “Keyboard Error”  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมการทำงานระหว่าง User ในการใช้โปรแกรมประยุกต์ ( Application Software) ของ user กับระบบเครื่องฯ  อำนวยความสะดวกในการใช้งาน  และเพิ่มประสิทธิ์ภาพของระบบ
                 

         บทบาทและเป้าหมายของระบบปฏิบัติการ (Goals & Roles of an OS)

•         อำนวยความสะดวก ทำให้ผู้ใช้ (user) ใช้เครื่องฯ ได้ง่าย (Operating System Objectives  Convenience)
ทำให้คอมฯ ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน
•         ใช้งานเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency)  จัดการการใช้ทรัพยากรของระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
•         เพิ่มความสามารถเพื่อพัฒนาโปรแกรม  (Ability to evolve) เพื่อรองรับให้ผู้ใช้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาโปรแกรมได้อย่างมี ประสิทธิภาพสามารถทดสอบโปรแกรมและสามารถใช้ฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ของระบบ  โดยปราศจากการแทรกแซงของระบบปฏิบัติการในระหว่างการทำงาน

สรุปเป้าหมายและบทบาทของระบบปฏิบัติการ (OS)  สามารถจำแนกได้ 2 เป้าหมายคือ
1.       เป้าหมายหลัก ( Primary goal) คือ  การอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ให้สามารถใช้ระบบคอมฯ ได้ง่าย และสะดวกที่สุด (convenience for the user)
2.       เป้าหมายหมายรอง (Secondary goal)  คือ เพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ
บางครั้ง 2 เป้าหมายนี้อาจขัดแย้งกัน เช่น  ระบบ OS ที่ชาญฉลาดนั้นระหว่างทำงานระบบจะ
ตรวจจับข้อผิดพลาด (Error) อยู่ตลอดเวลา หากพบข้อผิดพลาดระหว่างการทำงานก็จะมีข้อความแจ้ง (Message) แก่ผู้ใช้  และหากมีข้อความแจ้งบ่อยครั้ง ก็จะกลายเป็นการขัดจังหวะการทำงานทำให้ผู้ใช้ ทำงานได้ไม่สะดวก   ดังนั้นการออกแบบระบบปฏิบัติการ (OS) และการออกแบบสถาปัตยกรรมด้านตัวเครื่องควรมีความสอดคล้อง และหาจุดกลางระหว่างกันโครงสร้างระบบปฏิบัติการ (OPERATING SYSTEM STRUCTURES)ระบบปฏิบัติการเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์  ซึ่ง  OS จะเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานในระดับ Low level ควบคุมและสั่งการเครื่องและอุปกรณ์ได้โดยตรง  สามารถแสดงโครงการการเข้าถึงฮาร์ดแวดร์ ได้ตามรูปด้านล่างนี้






โครงสร้างการเข้าถึงฮาร์ดแวร์
3. อธิบายหลักการทำงานของ Personal computer Systems  และเชื่อมโยงด้วยว่าสัมพันธ์กับสิ่งเหล่านี้ อย่างไรบ้าง  ? (CPU, ALU, Control Unit,  Register, Bus, RAM, Input device, Output device)
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System)เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถเข้าถึงฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง  โดยทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร  ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ และทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการควบคุมการสั่งการ ระหว่างโปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities)  และโปรแกรมประยุกต์ของผู้ใช้ (Application Programs)ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาด้วยภาษาเครื่องจักร (Machine code)จะสามารถควบคุมและเข้าถึงฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง แต่จะขั้นตอนที่ยุ่งยากในการเขียนชุดคำสั่ง
โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities)โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities)  เป็นโปรแกรมอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการทำงานเพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพ แก่ระบบ  เป็นกลุ่มโปรแกรมที่เน้นการจัดการไฟล์ (File)  ควบคุม I/O, อุปกรณ์อื่น  เช่น  การสำรองข้อมูล  การจัดเรียงไฟล์  หรือการเคลียร์Temporary file โปรแกรมประยุกต์  (Application program)เป็นซอฟต์แวร์ที่อยู่ห่างไกลกับฮาร์ดแวร์ ไม่สามารถเข้าถึงฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง จะต้องอาศัย OS เป็น
ตัว กลางในการเชื่อมการทำงาน โปรแกรมประยุกต์จะถูกเขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ และใช้โปรแกรมภาษาระดับสูงในการพัฒนา  ที่พัฒนาจาก programmer

ระบบปฏิบัติการสนับสนุนการทำงานของระบบในด้านใดบ้าง? (OS Support)
การจัดเตรียมบริการต่าง ๆ  ของ OS ที่มีไว้เพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบ  มีดังนี้
• การพัฒนาโปรแกรม (Program development)
สนับสนุนเรื่องการพัฒนาโปรแกรม  โดยจัดเตรียมบริการต่าง ๆ ให้ผู้พัฒนานั้นสามารถใช้งาน Editor ได้ง่าย สะดวก และหลากหลาย เช่น มี Editor และ debuggerสำหรับช่วยโปรแกรมเมอร์ระหว่างเขียนโปรแกรมและตรวจสอบข้อผิดพลาด (Error) โดยระบบปฏิบัติการจะสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่างๆมากมาย เพื่อช่วยผู้พัฒนาโปรแกรมในการสร้างโปรแกรมประยุกต์ขึ้นมาใช้งาน
•  การประมวลผลโปรแกรม (Program execution)
ช่วยในการทำงานและประมวลผลโปรแกรมประยุกต์  ซึ่งการประมวลผลโปรแกรมหนึ่งๆ นั้นจะมีงานที่เข้ามา เกี่ยวข้องมากมาย คำสั่ง ( instruction ) และข้อมูล (data ) จะต้องถูกนำเข้ามาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก อุปกรณ์ไอโอและแฟ้มข้อมูลที่ต้องการใช้  รวมทั้งทรัพยากรที่จำเป็นอื่นๆจะต้องถูกเตรียมพร้อมใช้งาน ระบบปฏิบัติการจะเป็นผู้ทำงานทั้งหมดนี้ให้โดยอัตโนมัติ
• การเข้าถึงอุปกรณ์ไอโอ (Access to I/O devices )การใช้อุปกรณ์ I/O แต่ละชิ้นจะต้องอาศัยชุดคำสั่งหรือสัญญาณควบคุมของตนเอง ระบบปฏิบัติการจะจัดการในรายละเอียดของการทำงานเหล่านี้  ทำให้ผู้พัฒนาโปรแกรมเหลือเพียงการตัดสินใจว่าจะทำการอ่านข้อมูลหรือบันทึก ข้อมูลเหล่านั้น
•  การควบคุมการเข้าถึงแฟ้มข้อมูล (Controlled access to files)เช่น การการเปิดไฟล์  จะมีกระบวนการทำงานหลายขั้นตอน และในอนาคตกรณีของระบบที่ทำงานกับ ระบบปฏิบัติการหลายระบบ (multiuser  OS) จะมีการเตรียมกลไกในการควบคุมการเข้าถึงไฟล์
การควบคุมการใช้งานแฟ้มข้อมูล นอกจากจะต้องเข้าใจลักษณะโดยธรรมชาติของอุปกรณ์ ที่จะนำมาใช้งานแล้ว ยังต้องเข้าใจในรูปแบบของข้อมูลที่เก็บอยู่ในสื่อจัดเก็บ ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่ในส่วนนี้แทนผู้ใช้ และในกรณีที่ในระบบมีผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อมกันก็จะต้องควบคุมลำดับและวิธี การเข้าถึงแฟ้มข้อมูลสำหรับผู้ใช้ทุกคนด้วย
•  การเข้าถึงระบบ (System access)
การติดต่อระบบ ในกรณีที่เป็นระบบสาธารณะ หรือเป็นระบบที่ใช้งานร่วมกันระบบปฏิบัติการจะควบคุมการติดต่อเข้ากับระบบ คอมพิวเตอร์โดยส่วนรวม และทรัพยากรแต่ละชิ้น ฟังก์ชั่นการติดต่อจะต้องสนับสนุนการป้องกันทรัพยากร และข้อมูลจากผู้ที่ไม่มีสิทธิในการใช้งาน และจะต้องสามารถแก้ปัญหาการแย่งชิงการใช้อุปกรณ์ได้ด้วย  ดังนั้นระบบที่มีการแบ่งปัน ( Share) การเข้าถึงข้อมูลและระบบแบบสาธารณะ (public)   OS จะป้องกัน  (protect) ทรัพยากรจากคนหรืองานที่ไม่ได้รับอนุญาต ตัวอย่างเช่นการป้องกันการเข้าใช้งานเครื่อง Mainframe จำเป็นต้องต้องมีการขออนุญาตเข้าใช้   กำหนดสิทธิ์การใช้งาน   กำหนดการอนุญาตใช้ฮาร์ดแวร์  จะเห็นว่า OS ทำงานมากขึ้นสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่อย่าง Mainframe    ถ้าเป็นเครื่อง  PC เราจะขออนุญาตตัวเองในการเข้าใช้งาน
•  การตรวจจับข้อผิดพลาดและตอบกลับ (Error detection and response)

การตรวจหาข้อผิดพลาดในระบบและตอบกลับ   ข้อผิดพลาด (Error)  มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำงานอยู่
1)ข้อผิดพลาดที่เกิดจากทั้งภายในและภายนอกตัวเครื่อง(Hardwar) เช่น
•  หน่วยความจำผิดพลาด (memory error)
•  อุปกรณ์ผิดพลาด (device failure)
2)ข้อผิดพลาดที่เกิดจากซอฟต์แวร์ (Software)  เช่น
• หน่วยคำนวณเต็ม (arithmetic overflow)
•  การถูกยับยั้ง  หรือไม่อนุญาตให้เข้าถึงพื้นที่หน่วยความจำ (memory location

การพยายามที่จะเข้าถึงพื้นที่ ที่ไม่อนุญาตในตำแหน่ง ( location) ของหน่วยความจำ ก็จะทำให้เกิดข้อผิดพลาด (error) ขึ้นได้
•         โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (OS) ไม่สามารถอนุญาตตามการร้องขอของโปแกรมประยุกต์ได้
Note : ในแต่ละกรณีที่เกิดข้อผิดพลาด   OS มักจะเตรียมการแจ้งกลับ ( response) และพยายามจัดการกับเงื่อนไขของข้อผิดพลาด ( error) ที่เกิดขึ้นและให้มีผลกระทบน้อยที่สุดในการ run program
การตรวจหาข้อผิดพลาดและการตอบสนอง ข้อผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้โดยสาเหตุต่างๆมากมายขณะที่ระบบกำลังทำงาน ในความผิดพลาดแต่ละกรณีที่เกิดขึ้น ระบบปฏิบัติการจะต้องตอบสนองโดยทำให้เกิดผลกระทบต่อโปรแกรมที่กำลังประมวลผล อยู่ในระดับต่ำที่สุด การตอบสนองโดยทั่วไปได้แก่ การหยุดการทำงานของโปรแกรมนั้น การพยายามทำคำสั่งนั้นใหม่ เป็นต้น
•         การจัดทำบัญชี (Accounting)
–       เก็บรวบรวมสถิติการใช้งานระบบ (collect statistics)
–       ตรวจวัดประสิทธิภาพการใช้งานระบบ  (monitor performance) เช่น เวลาในการตอบสนอง
–       เพื่อเป็นข่าวสารที่จะใช้เป็นประโยชน์ในการยกระดับการทำงานให้สูงขึ้นในอนาคต(used to anticipate future enhancements)
–       ใช้สำหรับออกรายชื่อผู้ใช้  (used for billing users)
บัญชีผู้ใช้ ระบบปฏิบัติการที่ดีจะรวบรวมข้อมูลสถิติการใช้งานของทรัพยากรต่างๆ และตรวจสอบตัวกำหนดค่าประสิทธิภาพเช่น ระยะเวลาการตอบสนอง ในระบบใดๆ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการคาดเดาการขยายขีดความสามารถของระบบใน อนาคต และในการปรับตัวกำหนดค่าทั้งหลายเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในระบบที่มีผู้ใช้หลายคน ข้อมูลนี้สามารถนำมาใช้ในทางบัญชี เช่น การเรียกเก็บค่าบริการได้

            ระบบปฏิบัติการในฐานะผู้บริหารทรัพยากร (The Operating System as Resource Manager)
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ และการประมวลผลข้อมูลและการควบคุมฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ ระบบปฏิบัติการมีความรับผิดชอบในการบริหารทรัพยากรต่างๆเหล่านี้
อาจมีข้อสงสัยว่า ระบบปฏิบัติการเป็นตัวควบคุมการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ และการประมวลผลข้อมูลหรือไม่ ในมุมมองหนึ่งอาจตอบว่าใช่ เนื่องจากระบบปฏิบัติการจะต้องควบคุมหน้าที่การทำงานพื้นฐานในการบริหาร ทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามการควบคุมนี้เป็นการกระทำในทางอ้อม โดยปกติผู้คนมักจะคิดว่ากลไกในการควบคุมเป็นองค์ประกอบภายนอกของสิ่งที่ถูก ควบคุม หรือย่างน้อยที่สุดก็เป็นอะไรบางอย่างที่มีตัวตนและเป็นส่วนที่แยกออกจาก สิ่งที่ถูกควบคุม
       จากรูป แสดงให้เห็นว่าระบบปฏิบัติการคือผู้บริหารทรัพยากร ส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการซึ่งได้แก่ส่วนที่เรียกว่า เคอร์นอล(kernel) และนิวเคลียส( nucleus)จะถูกเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำส่วนที่เหลือจะถูกใช้ในการเก็บโปรแกรมและข้อมูลอื่นๆของผู้ใช้ การจัดสรรทรัพยากร(ในกรณีนี้คือหน่วยความจำ) ให้แก่โปรแกรมต่างๆรวมทั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการ จะถูกควบคุมร่วมกันระหว่างระบบปฏิบัติการกับฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่บริหาร หน่วยความจำ ระบบปฏิบัติการจะทำการตัดสินใจว่า จะมอบอุปกรณ์ไอโอตัวใดให้แก่โปรแกรมใดที่กำลังประมวลผลอยู่ รวมทั้งการควบคุมการเข้าถึงและเรียกใช้งานแฟ้มข้อมูล ตัวโปรเซสเซอร์เองก็จัดว่าเป็นทรัพยากรชนิดหนึ่ง จึงเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของระบบปฏิบัติการที่จะต้องกำหนดระยะเวลาการใช้งาน โปรเซสเซอร์ในการประมวลผลโปรแกรมผู้ใช้

ภาพรวมอื่นของระบบปฏิบัติการ (Other views of the OS)
•         OS  ทำหน้าที่เป็นผู้จัดสรรทรัพยากรภายในระบบ (resource allocator)
–          ดูและและจัดสรรให้ใช้ทรัพยากร อันได้แก่  ฮาร์ดแวร์ (hardware),ซอฟต์แวร์ (Software) และข้อมูล (data) ในระหว่างการทำงานภายในระบบได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง
–     จัดเตรียมสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ระหว่างที่โปรแกรมมีการทำงาน
•         OS  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของโปรแกรม (control program)
–          ควบคุมการประมวลผล (execution) ของโปรแกรมและป้องกันโปรแกรมผู้ใช้จากข้อผิดพลาดและการใช้งานโปรแกรมที่ไม่เหมาะสมในระบบ
–      ต้องควบคุมการทำงานและการจัดสรรอุปกรณ์ ไอโอ (I/O devices)

การประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์
โครงสร้างด้านการประมวลของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
Input — > Process — > Output
แสดงดังภาพตัวอย่างข้าล่างนี้
                                      
                                  
  จากรูป อธิบายขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล  ได้ดังนี้
1.  Input : User ทำการ Input data เข้าสู่ระบบ   โดยอาศัยอุปกรณ์ Input device
2.  Process : เครื่องเริ่มทำการประมวลผล  โดยข้อมูลที่ User  Input เข้ามาจะส่งไปเก็บใน
หน่วย ความจำหลัก (Memory :RAM)  จากนั้น Control  Unit จะควบคุมการไหลของข้อมูลผ่านระบบ Bus system จาก  RAM  ไปยัง  CPU และ ALU   เพื่อให้ทำงานตามคำสั่งระหว่างการประมวลผล  Register จะคอยเก็บชุดคำสั่งขณะที่ load ข้อมูลอยู่  และ Cacheจะ คอยดักชุดคำสั่งที่ CPU เรียกใช้บ่อย ๆ  และคอยจัดเตรียมข้อมูลหรือชุดคำสั่งเหล่านั้นเพื่อเอื้อให้ CPU ประมวลผลข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งการประมวลผลของเครื่องนี้จะทำงานตามรอบสัญญาณนาฬิกาของเครื่อง (Machine cycle)

Note:
Machine cycle  หมายถึง  เวลาที่ใช้ในการประมวลผลชุดคำสั่งของเครื่องต่อรอบสัญญาณ นาฬิกา              เป็นเวลาที่ร้องขอการทำงาน เช่น การเรียก (Load)ข้อมูล,  การประมวลผล (Execute)  และการจัดเก็บข้อมูล  ซึ่งใน Machine cycle  จะประกอบด้วย 2 ช่วงจังหวะการทำงาน ได้แก่
1.   Instruction time ( I-time)  หมายถึง  ช่วงเวลาที่   Control unit รับคำสั่ง (Fetch)จาก memory และนำคำสั่งนั้นใส่ลงไปใน register    จากนั้น Control unit จะทำการถอดรหัสชุดคำสั่งและพิจารณาที่อยู่ของข้อมูลที่ต้องการ
2. Execution time  หมายถึง   ช่วงเวลาที่  Control unit จะย้ายข้อมูลจาก  memory ไปยัง registers  และส่งข้อมูลให้    ALU จะทำงานตามคำสั่งนั้น    เมื่อALU ทำงานเสร็จ  Control unit จะเก็บผลลัพธ์ไว้ใน memory   ก่อนส่งไปแสดงผลที่ Monitor หรือ Printer
3.  Output : หลังจาก CPU ประมวลผลเสร็จ Control  Unit จะควบคุมการไหลของข้อมูลผ่านBus  system เพื่อส่งมอบ (Transfer)  ข้อมูลจาก CPU  มายังหน่วยความจำ  จากนั้นส่งข้อมูลออกไปแสดงผลที่ Output device (หากคุณใช้ card เพิ่มความเร็วในการแสดงผลของจอภาพ ก็จะส่งผลต่อความเร็วของระบบได้เช่นกัน) ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล (Data)  เรียกว่า   ข่าวสารหรือสารสนเทศ (Information)
4.  Storage : หน่วยจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหมายถึงสื่อจัดเก็บสำรอง เช่น Harddisk,  Disk หรือ CDทำ งาน 2 ลักษณะ คือ  การ Load ข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล: ถ้าข้อมูลถูกจัดเก็บอยู่ใน Harddisk แล้วคุณต้องการ  Load  ข้อมูลขึ้นมาแก้ไขหรือประมวลผล ข้อมูลที่ถูก Load และนำไปเก็บในหน่วยความจำ (Memory: RAM) จากนั้นส่งไปให้ CPUการเก็บข้อมูลเมื่อประมวลผลเสร็จ: เมื่อ CPU ประมวลผลข้อมูลเสร็จ ข้อมูลนั้นจะถูกเก็บอยู่ใน
   หน่วย ความจำ (Memory: RAM) แต่ RAM จะเก็บข้อมูลเพียงชั่วขณะที่เปิดเครื่อง (Power On)  เมื่อไรที่คุณปิดเครื่อง โดยที่ยังไม่สั่งบันทึกข้อมูล (Save)   ข้อมูลก็จะหาย (Loss)   ดังนั้นหาก User  ต้องการจัดเก็บข้อมูลเพื่อไว้งานในครั้งต่อไปจะต้องสั่งบันทึก โดยใช้คำสั่ง Save File  ข้อมูลก็จะถูกนำไปเก็บในสื่อจัดเก็บสำรอง ได้แก่  Disk,  Harddisk, CD  หรือ  Thumb Drive แล้วแต่ว่าคุณจะเลือก Save ไว้ในสื่อชนิดใด

โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ (Computer system structures)
ภาพรวมโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบโดยรวม 4 ส่วน ที่ประกอบกันขึ้นเป็นระบบ ดังนี้
1.  Processor  คือ หน่วยประมวลผล (CPU) ซึ่งเป็นหน่วยในการประมวลผลและควบคุมการทำงาน
2.  Main Memory : หน่วยความจำหลัก เป็นหน่วยความจำจริง(real memory)  หรือหน่วยความจำหลัก
(primary memory)  เก็บข้อมูลแบบชั่วคราวลบเลือนได้
3. I/O modules : อุปกรณ์ไอโอ  เป็นหน่วยในการนำเข้าและแสดงผลข้อมูล  เช่น
– อุปกรณ์หน่วยความจำสำรอง (secondary memory devices): เป็นอุปกรณ์สำหรับ
หน่วยความจำประเภทที่ 2 เช่น Disk หรือ  Harddisk หรืออาจจะเป็น File อย่างหนึ่ง  พวก File พิเศษ
– อุปกรณ์สื่อสาร (communications equipment ) : อุปกรณ์ในการสื่อสาร หรือส่งสัญญาณข้อมูลระหว่างเครื่อง
4.  System bus  : ระบบบัส คือ ช่องทางการขนส่งข้อมูล จะทำหน้าที่ในการเชื่อมข้อ Processor, Main Memory และ I/O modules เข้าด้วยกัน

ที่มาhttp://nakizacom.weebly.com

     บทที่3โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor)
การประมวลคำ ( Word processing ) เป็นการนำคำหลายๆคำมาเรียงกันให้มาอยู่ในรูปแบบที่กำหนด ซึ่งเราสามารถกำหนดได้ว่าจะให้มีกี่ตัวอักษรต่อหนึ่งบรรทัด หรือหน้าละกี่บรรทัด กั้นระยะหน้าหลังเท่าใด และสมารถแก้ไขเพิ่มเติมได้อย่างสะดวกจนกว่าจะพอใจแล้วจึงสั่งพิมพ์เอกสารนั้นๆ ออกมากี่ชุดก็ได้ โดยทุกชุดที่ออกมาจากเครื่องพิมพ์จะเหมือนกันทุกประการ เสมือนกับถ่ายเอกสารหรือการทำสำเนา ( Copy ) แต่ความจริงแล้วเอกสารทุกแผ่นจะถูกพิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์อย่างสวยงามและประณีต โดยปราศจากร่องรอยของการขูดลบใดๆ แลันั่นย่อมหมายถึงการใช้เครื่องคอมพิวเตอรืในการทำงาน เราจะต้องพิมพ์ข้อมูลต่างๆ ซึ่งอาจเป็นเอกสาร บทความ รายงาน จดหมาย ฯลฯ เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นเราสามารถใช้คำสั่งต่างๆ เข้าไปจัดการแก้ไข ดัดแปลง หรือเพิ่มเติมข้อมูลเหล่านั้นได้ตลอดเวลา โปรแกรม ( Program ) หรือชุดคำสั่งที่ทำให้เราสามารถทำงานกับเอกสารและสั่งงานต่งๆ นี้ได้ มีชื่อเรียกว่า โปรแกรมเวิร์ดโพรซสเซอร์ ( Word proccessing ) หรือโปรแกรมประมวลผลต่างๆ
จากความหมายนี้จะเห็นได้ว่า การประมวลผลคำ ( Word proccessing ) หมายถึง การพิมพ์เอกสารโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า เวิร์ดโพรเซสเซอร์ ( Word processer ) ที่มีความสามารถในการสร้าง แก้ไข เพิ่มเติม คัดลอก จัดรูปแบบเอกสาร ตลอดจนการเก็บบันทึกเอกสารนั้นลงในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เพื่อสามารถเรียกใช้งานภายหลังได้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้จะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการทำงาน
วิวัฒนาการของโปรแกรมประมวลผลคำ
โปรแกรมประมวลผลคำที่มีใช้ในประเทศไทยในยุคแรกๆ  นั้น  ส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมของต่างประเทศ  เช่น  โปรแกรม  WORDSTAR  ของบริษัทไมโครโปร จำกัด  วึ่งสามารถพิมพ์ข้อความได้เฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น  จึงทำให้ไมค่อยได้รับความนิยมจากผู้ชาวไทยมากนัก  ต่อมาในปี  พ.ศ.  2529  นายแพทย์ชุษณะ  มะกรสาร  ได้พัฒนาโปรแกรมผประมวลผลคำที่มีชื่อว่า  ราชวิถี  (Pachavitee  Word  PC  Version  1.0)  ซึ่งโปรแกรมนี้เขียนขึ้นมาด้วยภาษา  Assembly  ทั้งหมด การใช้งานโปรแกรมจะมีลักษณะเหมือนโปรแกรม  WORDSTAR  แต่สามารถพิมพ์ข้อความภาษาไทยได้หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงเป็นรุ่น  1.1,  1.2  และ  2.0  จึงทำให้ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานอย่างสูงสุดในเวลาต่อมา
ต่อมาในปี  พ.ศ. 2532  สถาบันบริการคอมพิวเตอร์  และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้ร่วมมือพัฒนาโปรแกรมประมวลผลคำภาษาไทยและอังกฤษ  โดยออกให้ง่ายต่อการใช้งาน  และมีความสามารถในการทำงานเช่นเดียวกับโปรแกรมประมวลผลคำอื่นๆ  โดยตั้งชื่อว่า  “ซียูไรต์เตอร์”  (CU Writer)  และประกาศให้ใช้เป็นโปรแกรมสาธารณะ (Public  Domaim)  หมายถึง  ทุกคนมะสิทธิจะลอกเลียน  และนำไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องดัดแปลงทางฮาร์ดแวร์  โดยรุ่น  (Version)  แรกที่ออกมา  จะเป็นรุ่น  1.1  และได้ทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 1.2, 1.3, 1.41, 1.51, 1.52 และ 1.6  โดยทุกรุ่นจะทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ  MS-DOS  ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบเทกซ์โหมด  (Text  Mode)  โปรแกรมซียูไรเตอร์นี้จะมีลักษณะคล้ายกับโปรแกรม  WORDSTAR  โดยจะมีเมนูคำสั่งต่างๆ  ที่ให้ช่วยผู้ใช้สามารถเลือกใช้คำสั่งได้ด้วยการเลื่อนแถบสว่าง (โดยใช้ปุ่มลูกศรบนแป้นพิมพ์)  ไปยังคำสั่งที่ต้องการใช้ซึ่งเป็นภาษาไทย  และกดปุ่ม  <Enter>  ทุกคำสั่งสามารถมองเห็นได้บนหน้าจอโดยไม่จะเป็นต้องอาศัยความจำในการจดจำคำสั่งใช้งานต่างๆ
การประมวลผลคำในปัจจุบันจะใช้ซอฟแวร์  (Software  Suites)  ซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป  (Package)  ชุดซอฟแวร์นี้บางทีเรียกว่า  โปรแกรมชุดสำนักงาน  (office  Programs)  โดยบริษัทไมโครซอฟต์คอร์เปอเรชัน  จำกัด  (Microsoft  Office)  ออกกสู่ตลาดครั้งแรกมีชื่อว่า  ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ  รุ่นที่  4.3  ซึ่งประกอบด้วย  (Word)  เป็นซอฟแวร์ประมวลผลคำ  (Word  processing  Software)  เอกซ์เซล  (Excel)  เป็นซอฟแวร์ตารางทำการ  แอ็กเซส  (Access)  เป็นซอฟเเวร์ด้านฐานข้อมูล  (Database  Software)  พาวเวอร์พอยต์  (PowerPiont)  เป็นซอฟต์แวร์นำเสนอภาพกราฟฟิก  (Presentation  Software)  โดยโปรแกรมเวิร์ดในชุดนี้จะเป็นรุ่น  6.0  หรือที่เรียกว่า  ไมโครซอฟต์เวิร์ด  6.0  ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนาโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด  2.0  ออกสู่ตลาดมาก่อนโดยโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดรุ่น  2.0  และ  6.0  นี้  เป็นโปรแกรมที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์  3.1  ต่อมาบริษัทไมโครซอฟต์ได้ทำการปรับปรุงพัฒาโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด  โดยทำการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ  แล้วพัฒนาเป็นโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด  7.0  หรือไมโครซอฟต์เวิร์ด  95 ซึ่งเป็นโปรแกรมในชุดของโปรแกรมชุดสำนักงานที่มีชื่อว่า  ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ  95  หลังจากนั้นบริษัทไมโครซอฟต์ได้ทำการพัฒนาโปรแกรมชุดสำนักงานมาดดยตลอดอย่างต่อเนื่อง  ดดยผลิตไมโครซอฟต์ออฟฟิศ  97  ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ  2000  และไมโครซอฟต์ออฟฟิศ  เอกซ์  พี  ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ 2003  ซึ่งในแต่ละชุดก็จะมีโปรแกรมไมโครวอฟต์เวิร์ด  97  ไมโครซอฟต์เวิร์ด  2000  และไมโครซอฟต์  2002   ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ  2003  เป็นโปรแกรมประมวลผลคำ  ตามลำดับ
ชุดซอฟแวร์ (Software Suites)  ต่างๆ  ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นส่วนมากจะเป็นโปรแกรมที่ทำงานระบบปฏิบัติการวินโดวส์  (Windows)  ของบริษัทไมโครซอฟต์และเป็นซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์  (Lincens)  หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ  ตลอดจนผู้ใช้งานตามบ้าน  (Home  Uses)  จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อชุดซอฟต์แวร์ดังกล่าวก่อนนำมาใช้งาน  ซึ่งราคาของชุดซอฟต์แวร์ดังกล่าวมักจะมีราคาแพง  จึงทำห้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟแวร์  โดยนำชุดซอฟแวร์ดังกล่าวมาใช้งานโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับอนุญาตจากบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมเป็นจำนวนสูงมาก  ดังนั้น  ก่อนการพิจารณาหรือตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมใดๆ  ในการทำงาน  เราจะต้องทราบขอบเขตของงานต่างๆ  ที่ต้องการจะนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงาน  เพื่อจะได้เลือกซื้อหรือจัดหาโปรแกรมให้เหมาะสมกับงาน  และประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการซื้อโปรแกรมได้มากที่สุด
แสดงตัวอย่างและรายละเอียดของไฟล์ขณะสั่งเปิด
ขณะสั่งเปิดไฟล์นั้น จะเห็นไดอะล็อกบ็อกซ์   open  (เปิด )  ซึ่งนอกจากจะแสดงชื่อไฟล์ในแต่ละโฟลเดอร์แล้ว  ยังมีคำสั่งที่ช่วยให้ทำงานกับไฟล์ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น  เช่น แสดงตัวอย่างเนื้อหาในไฟล์ก่อนที่จะเปิด
1.   คลิกปุ่ม  Open ( เปิด )
2.   คลิกไฟล์ที่ตต้องการ
3.   คลิกปุ่ม  Views  ( มุมมอง ) แล้วคลิก Preview  ( แสดงตัวอย่าง )  จะเห็นเนื้อหาในไฟล์ที่กรอบด้านขวา
ประเภทของโปรแกรมประมวลผลคำ
ในปัจจุบันโปรแกรมประมวลผลคำแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ
1.  เวิร์ดโพรเซสเซอร์  (Word Processor)
2.  เทกซ์อิดิเตอร์  (Text Editors)
1.        เวิร์ดโพรเซสเซอร์ (Word Processor)
เป็นโปรแกรมประมวลผลคำที่ใช้ในการทำงานด้านการพิมพ์เอกสารที่มีความสูงเช่น การใส่กราฟิก (Grapic)  หรือชาร์ต  (Chart)  ลงในเอกสาร  การสร้างตาราง  การจัดหน้าดอกสารแบบคอลัมน์ระบบอัติโนมัติ  โดยมีชนิดและขนาดของตัวอักษร  (Font)  ให้เลือกใช้มากมายหลายรูปแบบ  ต้วอย่างของโปรแกรมเวิร์ดโพรเซสเซอร์  ได้แก่  โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด
ไมโครซอฟต์เวิร์ด  (Microsoft Word)
เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสาร  นอกจากนี้ยังมีความสามารถจัดรูปแบบข้อความ  ใส่ตาราง  ภาพประกอบ  และอื่นๆ  ได้อีกมากมาย  โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดได้มีการพัฒนาขีดความสามารถต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นจัดว่าเป็นโปรแกรมประมวลผลคำที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงที่สุดในปัจจุบัน  โดยได้รับการยอมรับในประสิธิภาพและความน่าเชื่อถือของโปรแกรม  จึงทำให้ได้รับความนิยมนำไปใช้งานในองค์กรและหน่วยงานต่างๆ อย่างแพร่หลาย
ภาพที่ 1.2 แสดงโปรแกรมไมโครซอฟต์เวริ์ด (Microsoft Word)
2.       เทกซ์อิดิเตอร์ (Text Editors)
เป็นโปรแกรมประมวลผลคำที่มีขนาดเล็ก  เหมาะสำหรับการพิมพ์และแก้ไขเอกสารแบบธรรมดา  เช่น    การใช้ตัวหนา  (Bold)  การใช้ตัวเอียง  (Italice) โดยมีชนิดและขนาดของตัวอักษรให้เลือกใช้แต่ไม่มากเท่ากับโปรแกรมเวิร์ดโพรเซสเซอร์  เราสามารถพิมพ์ข้อความลงในเอกสาร   จัดเก็บบันทึก  และสั่งพิมพืงานที่ทำนั้นออกทางเครื่องพิมพ์ได้  ตัวอย่างของเทกซ์อิดิเตอร์  ได้แก่  โปรแกรม  WordPad,  โปรแกรม  NotePad  เป็นต้น
โปรแกรม WordPad
เป็นโปรแกรมประมวลผล  (Word Processor)  ขนาดเล็กๆ  ที่ให้มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ  ซึ่งมีความสามารถขั้นพื้นฐานเหมือนฌปรแกรมประมวลผลคำทั่วไป โปรแกรม  WordPad  คือ  ความสามารถในการตัดคำ  (Word  Wrap)  และยังเปิดไฟล์เอกสารของไมโครซอฟต์เวิร์ดได้ด้วย  รวมถึงไฟล์ข้อความล้วนๆ (.txt)

 โปรแกรม  Notepad
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการแก้ไขไฟล์ข้อความธรรมดา  (Plain  Text)  มีคำสั่งพื้นฐานทั่วไปเช่นเดียวกับโปรแกรมอื่นๆ  ในวินโดวส์  เช่น  คำสั่ง  >  New, File  Open…,  File  Save  หรือ  Save  As…เป็นต้น

ความสำคัญของโปรแกรมประมวลผลคำ
ปัจจุบันสำนักงานทั้งในภาครัฐและเอกชน  ไดมีการนำโปรแกรมประมวลผลคำเข้ามาใช้ในการพิมพ์เอกสารและรายงานต่างๆ  แทนเครื่องพิมพ์ดีดีมากขึ้น  ทั้งนี้จากความก้วหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาความสามารถของตัวประมวลผลหรือโพรเซสเซอร์  (Processor)  และประสิทธิภาพการเก็บข้อมูลของหน่วยงานเก็บข้อมูลสำรองต่างๆ  เช่น  ฮาร์ดดิสก์,  ดิสก์เกตต์  ที่มีความสูงขึ้น  รวมถึงการผลิตเครื่องพิมพ์  (Printer)  ความเร็วสูงประกอบกับราคาเครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลงแต่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น  จึงทำให้สำนักงานต่างๆ  หันมาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการประมวลผลข้อมูล  ตลอดจนการจัดทำเอกสารและรายงานต่างๆ  โดยผ่านโปรแกรมประมวลผล  (Word Processor)  ทำให้บุคคลในสำนักงานมีเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกในการพิมพ์เอกสาร บทความ  ตลอดจนรายงานต่างๆ  ได้อย่างรวดเร็ว  โดยสามารถจัดข้อความและเเบตัวอักษร  แก้ไข  เพิ่มเติม  ปรับปรุง  แทรกข้อความ  รวมข้อความหรือเอกสาร  จัดขอบกระดาษและตรวจดูเอกสารก่อนที่จะทำการพิมพ์เอกสารจริงออกมาทางเครื่องพิมพ์ได้  นอกจากนี้ยังสามารถเก็บบันทึกข้อความเอกสารต่างๆ  ตลอดจนเรียกใช้งานแฟ้มข้อมูลได้เก็บไว่ในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ  เช่น  ฮาร์ดดิสก์,  ดิสก์เกตต์  และซีดีรอม  ฯลฯ  ขึ้นมาใช้งานในภายหลังได้  ทำการทำงานกับเอกสารสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของโปรแกรมประมวลผลคำ
1.  ช่วยในการจัดเก็บและค้นหาเอกสารมีความรวดเร็วมากขึ้น  เพราะงานเอกสารต่างๆ  จะถูกจัดเก็บอยู่เป็นแฟ้มข้อมูลลงในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ  และสามารถค้นหาและเรียกใช้งานได้สะดวกและรวดเร็ว
2.  ช่วยลดปริมาณกระดาษที่จัดเก็บทำให้ประหยัดพื้นที่ในการเก็บเอกสาร  เพราะเอกสารจะถูกจัดเก็บอยู่ในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ  ที่มีขนาดเล็กแต่มีความจุในการเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก
3.  ช่วยลดขั้นตอนในการจัดทำเอกสาร  เช่น  ถ้าต้องส่งจดหมายที่มีข้อความเหมือนกันไปให้ผู้รับจดหมายเป็นจำนวนมากอาจทำได้โดยการจัดทำจดหมายเวียน  ซึ่งมีขั้นตอนการทำที่สะดวกและรวดเร็ว  ซึ่งถ้าหากใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็อาจจะต้องเสียเวลาในการจัดทำมาก
4.  ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพืเอกสาร
5.  ช่วยสร้างเอกสารให้มีความสวยงาม  ท้้งนี้เพราะผู้ใช้สามารถนำรูปภาพ  รูปวาด  ภาพกราฟฟิกต่างๆ  มาแทรกลงในเอกสารได้โดยตรง
6.  ช่วยให้การทำงานกับเอกสารถูกต้องและมีข้อผิดพลาดลดน้อยลง  เพราะผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารได้โดยตรงบนหน้าจอจนพอใจจึงสั่งพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพื์ หรืออาจใช้ระบบการตรวจสอบคำผิดแบบอัติโนมัติ  ในการตรวจสอบการสะกดคำหรือไวยากรณ์ของภาษาก็ได้
คุณสมบัติโดยทั่วไปของโปรแกรมประมวลผลคำ
1.  การดำเนินการตามมาตรฐานเกี่ยวกับการป้อนและแก้ไขข้อมูล
-การย้ายเมาส์พอยเตอรืไปตำแหน่งใดๆ  บนหน้าจอ
-การเลื่อนเอกสารขึ้นลง
-การขึ้นบรรทัดใหม่อัติโนมัติ
-การแทรกและลบข้อมูล
-การค้นหาคำ
-การแทนที่คำที่ต้องการแก้ไขด้วยคำหรือข้อความใหม่
-การตรวจสอบการสะกดคำและไวยากรณ์ของภาษาโดยอัติโนมัติ
-พจนานุกรมคำศัพท์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.  การดำเนินการตามมาตรฐานเกี่ยวกับรูปแบบการพิมพ์
-การปรับระยะห่างระหว่างบรรทัดหรือย่อหน้า
-การแทรกสัญลักษณ์และตัวอักษรพิเศษ
-การปรับเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร
-การจัดวางข้อมูลในรูปแบบต่างๆ  เช่น  จัดชิดซ้าย  ชิกขวา  หรือจัดกึงกลาง
-การจัดระยะห่างระหว่างตัวอักษรเป็นสัดส่วน
-การใส่ลำดับเลขหน้า  หัวกระดาษและท้ายกระดาษ
-สามารถจัดหน้าเอกสารได้หลายคอลัมน์ในหนึ่งหน้า
– มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกใช้หลากหลาย
3.  การดำเนินการขั้นสูง
– การแก้ไขคำผิดโดยอัตโนมัติ
– มีการกำหนดข้อความอัตโนมัติ
– มีรูปแบบฟอร์มอัตโนมัต
– มีการจัดรูปแบบโดยอัตโนมัติ
– มีรูปแบบทางคณิตศาสตร์
– มีรูปการเรียงลำดับอัตโนมัติ
-มีคำแนะนำ/ช่วยเหลืออัติโนมัติ
– มีดัชนี  และตารางของเนื้อหา (สารบัญ)
– ทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ  ในชุดสำนักงาน
– สร้างเอกสารรูปแบบ HTML  หรือเว็บเพจได้
โปรแกรมชุดสำนักงานประเภทซอฟแวร์
นอกจากโปรแกรมชุดำสนักงานไมโครซอฟต์ออฟฟิศ (Microsoft  Office)  ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทไมโครซอฟต์ที่ได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลายแล้ว ยังมีโปรแกรมชุดสำนักงานประเภทฟรแวร์  (Freeware  Software  Suites)  ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ขายในราคาไม่แพงนัก  แต่มีคุณสมบัติและมีความสามารถในการทำงานไม่ด้อยไปกว่าโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ  ให้เราเลือกใช้งานได้อย่างมากมายบนอินเตอร์เน็ต  โดยมีโปรแกรมชุดสำนักงานประเภทนี้มักจะแจกฟรีหรือขายในราคาที่ค่อนข้างถูกมาก  นอกจากนี้ผู้ผลิตโปรแกรมบางรายอาจยินยอมให้ทำการดาวน์โหลด  (Download)  โปรแกรมมาทดลองใช้งานได้ก่อนโดยไม่คิดมูลค่า  ซึ่งจะมีการกำหนดจำนวนวันที่เราสามารถใช้งานโปรแกรมได้  เช่น  15,  30,  45  หรือ 60 วัน  และถ้าเราพอใจในคุรภาพและประสิทธิภาพของโปรแกรมก็สามารถสั่งซื้อผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้  ซึ่งจะต้องชำระเงินด้วยบัตรเครดิต  (ต่างประเทศ)  เช่น  บัตร  Visa,  Mastercard  เป็นต้น  เป็นโปรแกรมชุดสำนักงานประเภทฟรีแวร์ได้รับความนิยมในปัจจุบัน  ได้แก่  StarOffice,  โปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ  (Pladao  Office)
โปรแกรม  StarOffice
เป็นโปรแกรมชุดสำนักงานที่บริษัท  Sun  Microsystems  พัฒนาขึ้นมาและสามารถใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย  เช่น  Windows,  Linux  และ  Solaris  (TM)  เป็นต้น  ปัจจุบันได้พัฒนามาจนถึงรุ่น  StarOffice  (TM)  5.2  (และกำลังจะออกรุ่นใหม่ในเร็วๆ  นี้คือ   StarOffice  6.0)  มีขนาดจุ  79-105 เมกะไบต์  (Mb)  1แบ่งออกเป็น  2  รุ่น  คือ  StarOffice  (TM)  5.2  Deluxe full  package  product  จะมีราคา  40  เหรียญสหรัฐ  ( ประมาณ  1,700  บาท ) และ  StarOffice  (TM)  5.2  Slim CD  kit  จะมีราคาประมาณ  10  เหรียญสหรัฐ  ( ประมาณ  500  บาท)  โปรแกรม  StarOffice  สามารถใช้งานได้หลายภาษา เช่น  ฝรั่งเศษ,  เยอรมัน,  อิตาเลียน,  สเปน,  สวีเดน  ฯลฯ
โปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ  (Pladao  Office)
เป็นโปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ   (Pladao  Office)  นี้  เป็นโปรแกรมชุดสำนักงานภาษาไทยที่บริษัทซัน  ไมโครซิสเต็มส์  (ประเทศไทย)  และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอพิวเตอร์แห่งชาติ  (National  Electronics  and  Computer  Tecnology  Center  :  NECTEC)  ได้ร่วมมือกันในโครงการพัฒนาโปรแกรมชุดนี้ขึ้น  โดยพัฒนาต่อยอดมาจากโปรแกรม  StarOffice  ของบริษัท  Sun  Microsystems  ซึ่งเป็นโปรแกรมชุดสำนักงานแบบ  Open  Source  คำว่า  “ปลาดาว”  มาจาก  “Star  Office”  โดย  “Star”  แปลว่า  ดาว  และ “Fice”  แปลว่า  ปลา  จึงมีชื่อเรียกว่า  ปลาดาว  โปรแกรมปลาดาวออฟฟิศมีขนาดความจุ  175  เมกะไบต์  (Mb)  สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมและดาวน์โหลดโปรแกรมได้จาก  http://www.pladao.com วัตถุประสงค์ของการพัมนาโปรแกรมปลาดาวออฟฟิศคือ  ต้องการให้คนไทยมีโปรแกรมชุดสำนักงานที่มีความสามารถในการทำงานกับเอกสารภาษาไทยได้และเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟแวร์
โปรแกรมหลักในโปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ  (Pladao  Office)  ประกอบด้วย
Writer                       โปรแกรมประมวลผลคำ  (Word  Processor)
Calc                            โปรแกรมตารางคำนวณ  (Spreadsheet)
Impress                    โปรแกรมนำเสนองาน  (Presentation)
Draw                           โปรแกรมวาดภาพแบบเวกเตอร์  (Drawing)
Math                          โปรแกรมพิมพ์สมการคณิตศาสตร์  (Equation)
คุณสมบัติของโปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ
1.  ใช้ได้กับหลายระบบปฏิบัติการไม่ว่าจะเป็น  Windows,  Linux,  Solaris
2.  ใช้งานได้ฟรี  ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใต้ลิขสิทธิ์แบบ    Open  Source
3.  ไม่ว่าจะสร้างไฟล์โดยโปรแกรมปลาดาวออฟฟิศระบบปฏิบัติการใดก็ยังสามารถนำไฟล์ไปเปิดโดยโปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ  บนระบบปฏิบัติการอื่นได้  100  %  (Cross-platform)
4.  สามารถนำไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรมปลาดาวออฟฟิศไปเปิดบนโปรแกรม  Microsoft  Office  และสามารถนำไฟล์ที่สร้างโดยโปรแกรม  Microsoft  Office  มาเปิดบนโปรแกรมปลาดาวออฟฟิศได้  (แม้จะไม่  100 % )
สร้างเอกสารใหม่
ปกติเมื่อเปิดโปรแกรม  Word  ขึ้นมาก็จะมีการสร้างเอกสารเปล่าให้ใช้ในการทำงานทันที  แต่หากต้องการสร้างเอกสารใหม่ก็สามารถทำได้โดย
คลิกปุ่ม  New  Blank  Document  ( สร้างเอกสารเปล่า )    หรือกด <Ctrl> + <N>
หรือเลือก  File > New  ( แฟ้ม  > สร้าง )  แล้วคลิกเลือก  Blank  Document  ( เอกสารใหม่ ) ที่ปรากฏขึ้นด้านขวา
การเปิดเอกสารเก่ามาใช้งาน
1.       ปุ่ม Open  ( เปิด )  หรือกด <Ctrl> + <O> หรือเลือก  File > Open ( แฟ้ม > เปิด
ถ้าจะใช้ไฟล์ที่เคยเปิดไว้ล่าสุด  ก็ให้คลิกที่ชื่อไฟล์นั้นใต้เมนูคำสั่ง  File  ( แฟ้ม )  ซึ่งปกติจะเก็บไว้เพียง 4 ไฟล์เท่านั้น  ถ้าจะให้เก็บ
มากกว่านี้  ให้เลือก  Tools  >  Options ( เครื่องมือ > ตัวเลือก )  ที่แท็บ  General  ( ทั่วไป )  กำหนดจำนวนชื่อไฟล์ที่จะเก็บในช่อง  Recentry used  file  list  ( รายการแฟ้มที่ใช้ล่าสุด ) ได้สูงสุด 9 ไฟล์
2.  คลิกที่ลูกศร   หลังช่อง  Look  in  ( มองหาใน )  แล้วเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บเอกสารไว้
3.  คลิกไฟล์ที่ต้องการ
4.  คลิกปุ่ม  Open  ( เปิด )
การแทรกข้อความ
โดยปกติเมื่อเปิดไฟล์เอกสารง่ายๆ ขึ้นมา ตำแหน่งที่จะกรอกหรือพิมพ์ข้อความเข้าไปได้นั้นจะเริ่มที่มุมบนซ้ายของไฟล์  ถ้าจะเริ่มกรอกข้อความที่บริเวณอื่นๆ  ให้เลื่อนเมาส์ไปคลิกตรงบริเวณที่จะกรอกข้อความ  ( หรือจะคลิกแทรกระหว่างข้อความที่มีอยู่ก็ได้ )  เพื่อวางเคอร์เซอร์  ( เส้นสีดำที่กะพริบ )  ไว้ที่ตำแหน่งนั้น  แล้วป้อนข้อความต่อได้ทันที
ขณะเลื่อนเมาส์จะเห็นสัญลักษณ์  i-Beam  ( ไอ-บีม )  บนหน้าจอเลื่อนตามไปด้วย  ไอ-บีมของ  Word  นี้จะมีลักษณะและการทำงานต่างกันไปขึ้นกับตำแหน่งที่อยู่ ดังนี้
ถ้าเลื่อนไอบีมไปด้านซ้ายมากๆ  ไอบีมจะเป็น  เมื่อดับเบิลคลิกจะแทรกข้อความที่ตำแหน่งนั้น  และจัดข้อความแบบ  Align  Left ( ชิดซ้ายเสมอกั้นหน้า )
หรือถ้าเลื่อนไอ-บีม ไปตรงกลางๆ  ไอบีมจะเป็น    เมื่อดับเบิลคลิกจะแทรกข้อความที่ตำแหน่งนั้น  และจัดข้อความแบบ  Center  ( กึ่งกลางระหว่างกั้นหน้าและกั้นหลัง
และถ้าเลื่อนไปด้านขวามากๆ  ไอ-บีมจะเป็น  เมื่อดับเบิลคลิกจะแทรกข้อความที่ตำแหน่งนั้น  และจัดข้อความแบบ  Align  Right  ( ชิดขวาเสมอกั้นหลัง )
 :  Note 
เมื่อคลิกเมาส์แทรกในข้อความเป็นนภาษาใด  แป้นพิมพ์จะเปลี่ยนให้เป็นภาษานั้นอัตโนมัติ  ถ้าหากไม่เปลี่ยน  ให้เลือกเมนู  Tool >  Options ( เครื่องมือ > ตัวเลือก )  ที่แท็บ  Edit  ( แก้ไข )  คลิกที่  Auto  keyboard  switching  ( การสลับแป้นพิมพ์อัตโนมัติ )    ให้ มีเครื่องหมายถูก
สำหรับคำที่มีการใช้บ่อยๆเช่น  คำขึ้นต้นลงท้ายจดหมาย  ชื่อเดือนต่างๆ  Word  จะทำเป็นข้อความอัตโนมัติเพื่อช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น โดยขณะที่ป้อนตัวอักขระขึ้นต้้นของคำหรือวลีนั้นเพียง  3-4  ตัว  ( หรือถ้ามีอักษรขึ้นต้นที่ซ้ำกัน  ก็ต้องป้อนไปจนกว่าไม่ซ้ำ )  Word  ก็จะแสดงข้อความอัตโนมัตินั้นขึ้นมาถ้าคำนั้นเป็นคำที่ต้องการ  ก็กด  < Enter >  ได้เลย  Word  จะใส่ส่วนที่เหลือให้ถ้าไม่ใช่คำที่ต้องการ  ก็ป้อนส่วนที่เหลือต่อไป  โดยไม่ต้องสนใจข้อความอัตโมัติที่แสดงขึ้นมา
ที่มา:http://kanchanapisek.or.th
                             บทที่4
    การตกแต่งเอกสารและการตรวจสอบเอกสาร

การแทรกงานตกแต่งในเอกสาร ได้แก่ การแทรกตัวแบ่ง หมายเลขหน้าวันที่และเวลา เขตข้อมูล สัญลักษณ์ ข้อคิดเห็น เชิงอรรถ คำอธิบายเฉพาะ อ้างอิงโยง ดัชนีและตาราง ที่คั่นหนังสือ การแทรกรูปวาด รูปภาพในเอกสาร ได้แก่ การวาดรูปและรูปร่างอัตโนมัติ การใช้อักษรศิลป์ การ แทรกรูปภาพ เป็นต้น และการแทรกวัตถุในเอกสาร ได้แก่ การแทรกสมการ แผนผังการจัดองค์กร เป็นต้น
การ ใช้เมนูแทรก เพื่อตกแต่งงานในเอกสารให้มีความสมบูรณ์ สวยงามนั้น ต้องวาง ตำแหน่งพิมพ์หรือเคอร์เซอร์ ไว้ในที่ที่ต้องการแทรกงานนั้น ๆ ก่อนที่จะใช้เมนูแทรก ดังมี รายละเอียดต่อไปนี้
1. การแทรกงานตกแต่งในเอกสาร 
การแทรกงานตกแต่งเอกสารให้มีความสมบูรณ์ตามรูปแบบต่าง ๆ มีรายละเอียด ดังนี้
1.1 การแทรกหน้า 
หากการพิมพ์งานเอกสาร ต้องการปกหรือใบปะหน้า สามารถทำได้จาก Word 2007 ที่ได้เพิ่มเข้ามา โดยไปที่แท็บแทรก ปุ่มคำสั่งหน้า




1.2 การใช้ตัวแบ่งที่แท็บเค้าโครงหน้ากระดาษ 
การพิมพ์งานเอกสาร หากพิมพ์งานโดยปกติทั่วไป เอกสารจะมีเพียงส่วนเดียวแต่ หลายหน้า เมื่อเรามีความต้องการที่จะจัดรูปแบบบางอย่างให้กับหน้าเอกสารบางหน้าหรือ เรา ต้องการขึ้นหน้าใหม่อย่างรวดเร็ว เรามีความจำเป็นที่อาจจะต้องใช้เอกสารเป็นส่วน ๆ หรือเป็น คอลัมน์ หรือเป็นหน้าได้ โดยใช้ปุ่มเครื่องมือตัวแบ่งในกลุ่มคำสั่งตั้งค่าหน้ากระดาษของแท็บเค้า โครงหน้ากระดาษ


จากเมนูของปุ่มคำสั่งตัวแบ่ง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.2.1 ชนิดตัวแบ่งหน้า 
ชนิดของตัวแบ่งหน้า สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ
1.2.1.1 ตัวแบ่งหน้า แทรกตัวแบ่งหน้าแบบใส่ด้วยตนเองที่จุดแทรก
1.2.1.2 ตัวแบ่งคอลัมน์ แทรกตัวแบ่งคอลัมน์แบบใส่ด้วยตนเองที่จุดแทรก
1.2.1.3 ตัวแบ่งการตัดข้อความ สิ้น สุดบรรทัดปัจจุบันและบังคับให้ ข้อความเรียงต่อเนื่องอยู่ที่ด้านล่างรูปภาพ ตาราง หรือรายการอื่น (ข้อความจะเรียงต่อเนื่องอยู่บน บรรทัดว่างเปล่าบรรทัดถัดไปที่ไม่มีรูปภาพหรือตารางถูกจัดชิดระยะขอบซ้าย หรือชิดระยะขอบ ขวาอยู่)


1.2.2 ชนิดตัวแบ่งส่วน 
ชนิดของตัวแบ่งส่วน สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
1.2.2.1 หน้าถัดไป แทรกตัวแบ่งส่วน แล้วแบ่งหน้า เพื่อให้ส่วนถัดไป เริ่มต้นที่ด้านบนของหน้าถัดไป ดังรูป
1.2.2.2 ต่อเนื่อง แทรกตัวแบ่งส่วน แล้วเริ่มต้นส่วนใหม่ทันที โดยไม่แทรก ตัวแบ่งหน้า
1.2.2.3 หน้าคู่ แทรกตัวแบ่ง ส่วน แล้วเริ่มต้นส่วนถัดไปในหน้าเลขคู่หน้า ถัดไป ถ้าตัวแบ่งส่วนอยู่ในหน้าเลขคู่ Word จะปล่อยหน้าเลขคี่หน้าถัดไปให้ว่าง
1.2.2.4 หน้าคี่ แทรกตัวแบ่ง ส่วน แล้วเริ่มต้นส่วนถัดไปในหน้าเลขคี่หน้า ถัดไป ถ้าตัวแบ่งส่วนอยู่ในหน้าเลขคี่ Word จะปล่อยหน้าเลขคู่หน้าถัดไปให้ว่าง






1.3 การแทรกหมายเลขหน้า 
หากต้องการพิมพ์งานกำหนดเลขหน้าให้กับเอกสาร ให้ใช้แท็บแทรก ปุ่มคำสั่ง หมายเลขหน้าของกลุ่มหัวกระดาษและท้ายกระดาษ ซึ่งจะมีเมนูย่อยออกมาให้เลือก โดยWord จะ ให้พิมพ์แทรกลงในเขตพื้นที่หัวกระดาษและท้ายกระดาษที่ได้มีการตั้งค่าหน้า กระดาษไว้แล้ว ไม่ได้ ใช้ในพื้นที่งานปกติที่เราพิมพ์งานอยู่ และจะให้แสดงหมายเลขในหน้าแรกหรือไม่ก็ได้




แต่ถ้าต้องการพิมพ์ข้อความที่หัวกระดาษและท้ายกระดาษด้วย เราจะใช้แท็บ มุมมอง\หัวกระดาษและท้ายกระดาษ Word จะให้พิมพ์แทรกลงในเขตพื้นที่หัวกระดาษและท้าย กระดาษ โดยใช้แท็บเลื่อนตำแหน่งพิมพ์ได้ 3 แท็บ คือ ชิด ซ้าย กึ่งกลาง และชิดขวา พร้อมกันนี้ Word 2007 ได้เตรียมแท็บบริบทออกแบบให้ปรับแต่งอีกด้วย



1.4 การแทรกวันที่และเวลา
ที่แท็บแทรก ใช้ปุ่มคำสั่งวันที่และเวลาของกลุ่มคำสั่งข้อความ สามารถใช้แทรก วันที่และเวลาตามรูปแบบที่เราต้องการลงในเอกสารได้


1.5 การแทรกสัญลักษณ์ 
ในงานพิมพ์เอกสารบางงานอาจมีรูปร่างสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ไม่สามารถพิมพ์ด้วย แป้นพิมพ์ได้ เราต้องใช้แท็บแทรก\สัญลักษณ์ เพิ่มเข้าไปในเอกสารนั้น ๆ ได้ ดังเช่น การพิมพ์งาน สอนวิชาพิมพ์ดีดเกี่ ยวกับแป้ นพิมพ์ ฟ ห ก ด  า ส ว และ “ ิ” เครื่องหมายทางการค้า การจด ทะเบียน ลิขสิทธิ์ ฯลฯ


ที่มา:https://basfn4939.wordpress.com


                           บทที่ 5 การปรับตกเเต่งเเละจัดพิมพ์เอกสาร


   การสั่งพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์จะต้องมีการกำหนดแฟ้มที่ต้องการพิมพ์โดยทำการเปิดแฟ้มเอกสารด้วยคำสั่ง แฟ้ม= > เปิด
เมื่อเลือกแฟ้มที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม Ok

      การแทรกหัวกระดาษ ( Header ) และท้ายกระดาษ (Footer )
        คงเคยเห็นข้อความหรือ กราฟฟิกปรากฏอยู่ที่หัวกระดาษและท้ายกระดาษในเอกสารต่างๆ เช่น ลำดับเลขหน้า โลโก้บริษัท วันที่ ชื่อเอกสาร ฯลฯ สามารถกำหนดให้หัวกระดาษ และท้ายกระดาษนี้ปรากฎในทุกๆหน้าตลอดทั้งเอกสาร หรือปรากฎในหน้าคู่หรือหน้าคี่ เป็นต้นหัวกระดาษ จะถูกพิมพ์ที่ด้านบน ส่วน ท้ายกระดาษ จะถูกพิมพ์ด้านล่าง วิธีการใส่ หัวกระดาษ และ ท้ายกระดาษ ทำได้ดังนี้
1. เลือกคำสั่ง มุมมอง => หัวกระดาษและท้ายกระดาษ จะปรากฏ กรอบโต้ตอบหัวกระดาษและท้ายกระดาษ และหน้าจอภาพจะเปลี่ยนไป ยังมุมมอง Page Layout View ทันทีเพราะเราสามารถกำหนด หัวกระดาษ และ ท้ายกระดาษ ได้เฉพาะมุมมองนี้เท่านั้น
2. จะปรากฎกรอบเส้นประแสดง หัวกระดาษ ซึ่งเส้นประนี้คือการแบ่งขอบเขตไม่ให้ข้อความอื่นล้ำเข้าไป
3. กรอกข้อความ หรือใส่กราฟฟิกใน หัวกระดาษ
4. คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม 
จะเป็นการสลับการทำงานระหว่าง หัวกระดาษและท้ายกระดาษ
5. กรอกข้อความ หรือใส่กราฟฟิกใน ท้ายกระดาษ
6. คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม 
เพื่อกลับไปยังหน้าจอเอกสารปกติ ซึ่งจะปรากฎ หัวกระดาษและท้ายกระดาษ ที่จางลง ขณะนี้คุณไม่สามารถแก้ไข หัวกระดาษและท้ายกระดาษนี้ได้
7. ทดลองกรอกข้อความเอกสาร ข้อความของจะไม่สามารถล้ำเข้าเขตไปใน หัวกระดาษ หรือ ท้ายกระดาษ ได้


         ในการแก้ไข หัวกระดาษ หรือ ท้ายกระดาษ อาจต้องใช้ปุ่มต่างๆใน กรอบโต้ตอบหัวกระดาษและท้ายกระดาษ ดังนี้
  

          การกำหนดให้มีการใส่ลำดับเลขหน้าโดยอัตโนมัติลงในเอกสาร ซึ่งมีขั้นตอนดั้งนี้
1. เลือกคำสั่ง แทรก =>เลขหน้า จะปรากฎ กรอบโต้ตอบเลขหน้า
2. คลิกเมาส์ เลือกว่าจะให้ใส่เลขหน้าด้านบนหัวกระดาษ ( Header ) หรือท้ายกระดาษ (Footer ) ในกรอบ ตำแหน่ง
3. คลิกเมาส์ เลือกการจัดวางเลขหน้าว่าจะอยู่ชิดซ้าย ชิดขวา อยู่ตรงกลางหน้ากระดาษ ฯลฯ โดยเลือกที่ การจัดตำแหน่ง
4. ดูรูปภาพแสดงตัวอย่างในกรอบ แสดงตัวอย่าง
5. คลิกเมาส์ ปุ่มรูปแบบ จะปรากฎ กรอบโต้ตอบรูปแบบของเลขหน้า
6. คลิกเมาส์ เลือกรูปแบบตัวเลขที่ รูปแบบตัวอักษร
7. กำหนดเลขหน้า ว่าจะให้เริ่มใส่เลขหน้าตั้งแต่หน้าใด
8. คลิกเมาส์ ปุ่ม ตกลง

  การขอดูเอกสารก่อนพิมพ์ ทำได้ 2 วิธี ได้แก่

       วิธีที่ 1 ใช้สัญรูป
        1. คลิกสัญรูป  
 ( ตัวอย่างก่อนพิมพ์ ) จะปรากฎกรอบโต้ตอบ คำสั่ง ตัวอย่างก่อนพิมพ์ ซึ่งประกอบด้วยเมนูของสัญรูปการทำงาน และตัวอย่างรูปแบบของเอกสารก่อนพิมพ์ออกมาให้ดูทางจอภาพ
        2. ถ้าต้องการพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์ ให้คลิกปุ่ม พิมพ์ ถ้าไม่ต้องการพิมพ์และต้องการออกจากเมนูของคำสั่ง ตัวอย่างก่อนพิมพ์ ให้คลิกปุ่ม ปิด

         วิธีที่ 2 ใช้คำสั่ง
        1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม
        2. คลิกคำสั่ง ตัวอย่างก่อนพิมพ์ 
        3. จะปรากฎกรอบโต้ตอบ คำสั่ง ตัวอย่างก่อนพิมพ์ ซึ่งประกอบด้วยเมนูของสัญรูปการทำงานและตัวอย่างรูปแบบของเอกสาร ก่อนพิมพ์ออกมาให้ดูทางจอภาพ
        4. ถ้าต้องการพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์ ให้คลิกปุ่ม พิมพ์
        5. ถ้าไม่ต้องการพิมพ์และต้องการออกจาเมนูของคำสั่ง ตัวอย่างก่อนพิมพ์ ให้คลิกปุ่ม ปิด


การสั่งพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์ ทำได้ 2 วิธี

     วิธีที่ 1 ใช้สัญรูป
·                     คลิกสัญรูป   ( พิมพ์ ) รอสักครู่โปรแกรมจะพิมพ์เอกสารทั้งหมดออกทางเครื่องพิมพ์
       วิธีที่ 2 ใช้คำสั่ง
1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม
2. คลิกคำสั่ง พิมพ์ 
3. เลือกเครื่องพิมพ์ ที่จะพิมพ์
4. ระบุจำนวนชุดของเอกสารที่ต้องการ
5. ระบุหน้าของเอกสารที่ต้องการ
     ทั้งหมด หมายถึงทุกหน้า
     หน้าปัจจุบัน หมายถึง หน้าที่มีเคอร์เซอร์กำกับอยู่
     หน้า หมายถึง บางหน้าตามที่ระบุ ไว้ข้างหลัง เช่น 3 - 5 ถ้าต้องการอกสารหน้า 3 ถึงหน้า 5 4 , 8 , 9 ถ้าต้องการเอกสารหน้า 4 หน้า 8 และหน้า 9
6. คลิกปุ่มตกลง


การกำหนดขอบของงานพิมพ์ มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม
2. คลิกคำสั่ง ตั้งค่าหน้ากระดาษ
3. จะปรากฎกรอบโต้ตอบ

ด้านบน
ระบุที่ว่างด้านบน
ด้านล่าง
ระบุที่ว่างด้านล่าง
ด้านซ้าย
ระบุที่ว่างด้านซ้าย
ด้านขวา
ระบุที่ว่างด้านขวา
หัวกระดาษ
ระบุที่ตั้งของหัวกระดาษ
ท้ายกระดาษ
ระบุที่ตั้งของท้ายกระดาษ
ทั้งเอกสาร
ใช้กับเอกสารทั้งหมด
จากจุดนี้ไปข้างหน้า
ใช้กับเอกสารตั้งแต่จุดนี้เป็นต้นไป


      การกำหนดขนาดของกระดาษพิมพ์
1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม
2. คลิกคำสั่ง ตั้งค่าหน้ากระดาษ
3. เลือกแท็บ ขนาดกระดาษ
4. จะปรากฎกรอบโต้ตอบ

ขนาดกระดาษ
เลือกขนาดกระดาษที่ใช้พิมพ์
แนวตั้ง
พิมพ์แนวตั้ง
แนวนอน
พิมพ์แนวนอน
ทั้งเอกสาร
ใช้กับเอกสารทั้งหมด
จากจุดนี้ไปข้างหน้า
ใช้กับเอกสารตั้งแต่จุดนี้เป็นต้นไป
            

การกำหนดแหล่งกระดาษ
1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม
2. คลิกคำสั่ง ตั้งค่าหน้ากระดาษ
3. เลือกแท็บ แหล่งกระดาษ
4. จะปรากฎกรอบโต้ตอบ


หน้าแรก
หน้าอื่น ๆ
ใช้กับ
ทั้งเอกสาร
จากจุดนี้ไปข้างหน้า

การกำหนดการวางแบบของเอกสาร
1. คลิกคำสั่ง แฟ้ม
2. คลิกคำสั่ง ตั้งค่าหน้ากระดาษ
3. เลือกแท็บ เค้าโครง
4. จะปรากฎกรอบโต้ตอบ

ส่วนเริ่ม
ต่อเนื่อง
สดมภ์ใหม่
หน้าใหม่
หน้าคู่
หน้าคี่
หัวกระดาษท้ายกระดาษ
หน้าคู่และหน้าคี่ต่างกัน
หน้าแรกต่างกัน
การจัดตำแหน่งแนวตั้ง
ด้านบน
กึ่งกลาง
ชิดขอบ
หมายเลยบรรทัด (ปรากฎกรอบโต้ตอบดังรูป)


คุณสมบัติของเครื่องพิมพ์
1. เลือกคำสั่ง แฟ้ม
2. เลือกคำสั่ง พิมพ์
3. เลือกแท็บ คุณสมบัติ
4. เลือกแท็บ Main
5. จะปรากฎกรอบโต้ตอบ

ที่มา:http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/Online_Word/page10.htm


บทที่6 microsoft excel เบื้องต้น

1. ดูข้อมูลสรุปทางสถิติจากจาก Status Bar ด้านขวาล่าง
บางครั้งเราต้องการบวกเลข นับเลข หรือหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต แบบเร็วๆ (โดยไม่ได้จะเอาไปคำนวณต่อ) เราไม่ต้องเขียนสูตรให้เมื่อย แค่ให้ลาก Select ครอบคลุมข้อมูลที่ต้องการ แล้วไปดูที่ Status Bar ที่อยู่ขวาล่าง มันก็แสดงข้อมูลให้เพียบแล้ว


Tips : เราเลือกได้ว่าใน Status Bar จะแสดงการสรุปอะไรบ้างโดยให้ลองคลิ๊กขวาที่ Status Bar ด้านล่าง แล้วติ๊กเลือกเอาได้ครับ ว่าจะเอาอะไร เช่น Average, Count, Numerical Count, Maximum, Minimum, Sum
2. หัดใช้ Keyboard คีย์ลัดบ้าง


การใช้คีย์ลัดช่วยให้เราทำงานได้เร็วมากขึ้นจริงๆ ครับ (และดูเท่มากด้วย!) โดยเฉพาะตัวไหนที่เราใช้บ่อยๆ ให้จำให้ได้เลย
สำหรับผมเอง เช่น
·                     Ctrl+C : Copy
·                     Ctrl+X : Cut
·                     Ctrl+V : Paste
·                     Ctrl + Z : Undo
·                     Alt+ =  : Auto Sum
·                     F2 : เข้าสู่ Edit Mode
·                     F3 : Paste Name (ชื่อที่ตั้งเอาไว้แล้ว)
·                     F4 : ล๊อค Cell (ใน Edit Mode ) / Repeat ทำซ้ำ
·                     F5 : ให้ลากครอบ Cell Reference ใน Formula Bar แล้วกด F5 แล้ว Enter เพื่อไปเลือก Cell/Range นั้นๆ ได้เลย
·                     F9 : แปลงสูตรเป็น Value (ใน Edit Mode) / Recalculate
สามารถไปดูสรุปคีย์ลัดที่สำคัญได้ที่ =http://www.inwexcel.com/microsoft-excel-shortcut-hotkey/ 
3. ใช้ Quick Access Toolbar


นอกจากเราจะมี Ribbon มาตรฐานให้ใช้แล้ว เรายังสามารถ Add คำสั่งที่เราใช้บ่อยๆ ไว้ที Quick Access Toolbar ที่อยู่มุมบนซ้ายได้ด้วย รวมถึงสามารถใส่คำสั่งที่ไม่มีใน Ribbon ปกติได้อีกต่างหาก และที่สำคัญยังใช้ร่วมกับคีย์ลัด ปุ่ม Alt+1, Alt+2 …. (ไปเรื่อยๆ) ได้อีกด้วย
สามารถดูวิธีเพิ่มปุ่มลงใน Quick Access Toolbar ได้ที่ =http://www.inwexcel.com/quick-access-toolbar/
4. ใช้ Defined Name ในการอ้างอิงสูตร


การตั้งชื่อให้ Cell หรือ Range มีข้อดีหลายอย่าง เช่น
·                     อ่านสูตรเข้าใจได้ง่ายกว่า เพราะสามารถใส่เป็นคำที่มีความหมายได้
·                     บริหารจัดการง่าย เวลาแก้ไขการอ้างอิง ก็สามารถแก้ได้ที่ Name Manager ที่เดียวเลย เหมาะอย่างยิ่งกับการอ้างอิงไปที่ช่องที่มีการอ้างถึงบ่อยๆ หรือRange ที่อาจมีการเพิ่มเติม Item ภายหลัง เช่น  Reference Table 
·                     เวลาใช้ VBA อ้างอิง หากอ้างไปที่ Defined Name จะสะดวกกว่าอ้างไปที่ชื่อ Cell เพราะเวลาเราแทรก Cell แล้ว การอ้างอิงใน VBA จะไม่เลื่อนตามให้ เหมือนการอ้างอิงใน Sheet ปกติ ซึ่งจะไม่เป็นปัญหากเลย หากเราใช้ Defined Name แทน
·                     ไม่ต้องกด Ctrl+Shift+Enter เวลาใช้เป็น Array Formula
วิธีตั้งชื่อ Definced Name ให้ Cell หรือ Range
1.       เลือก Cell หรือ Range ที่ต้องการตั้งชื่อ
2.       ไปที่ Name Box ที่อยู่ซ้ายมือของช่องใส่สูตร
3.       พิมพ์ชื่อที่ต้องการแล้วกด Enter
วิธีบริหารจัดการชื่อ ให้ไปที่ Ribbon Formula => Name Manager (หรือกด Ctrl + F3)
5. สร้าง Custom List เพื่อช่วย Auto Fill / Sort
บางทีเราต้องการให้ Excel สามารถ Auto Fill ข้อมูลให้เราโดยอัตโนมัติ เช่น A-Z หรือ ก-ฮ แต่เชื่อหรือไม่ว่า Excel ทำไม่ได้ เพราะมันไม่รู้จัก List พวกนี้ (ไม่เข้าใจมันจริงๆ ว่าทำไมแค่นี้ไม่รู้จัก…)
แต่ไม่ต้องกลัวไป เราสามารถสอนให้ Excel รู้จัก List ที่เรากำหนดเองได้ เพื่อให้มัน Autofill และ Sort ตาม List ที่เรากำหนดเป็นด้วย (เลือกได้ใน Sort Option ว่าจะ Sort Order ตาม อะไร)


วิธีการสร้าง Custom List
·                     ไปที่ Excel Option => Popular => Edit Custom List
·                     จากนั้นสามารถใส่คำที่ต้องการลงไปได้เลยในช่อง List entries (แยกคำด้วย Enter) หรือจะ Import จาก Range ที่มีอยู่ก็ได้ครับ (แต่ต้องเป็น Text ที่เป็น Value ไม่ค้างเป็นสูตร)
·                     อย่างตัว A-Z นี้ผมสร้างจากสูตร =CHAR(65), =CHAR(66) ไปเรื่อยๆ
o                  วิธีคือ สร้างเลขเรียงกันในคอลัมน์นึง เช่น A1,A2…
o                  แล้วค่อยเขียน =CHAR(A1) ไว้คอลัมน์ข้างๆ แล้ว Copy ลากยาวลงมา…
o                  จากนั้นค่อย Paste เป็น Value อีกที 
6. เรียนรู้ Function ให้มากขึ้น
Excel มีฟังก์ชั่นเยอะแยะมากมาย ซึ่งบางฟังก์ชั่นออกแบบมาให้เราทำงานได้ง่ายมากๆ ถ้าเรารู้จักใช้มัน
แต่ในทางกลับกัน หากเราไม่รู้ว่ามี Function แบบนั้นแบบนี้อยู่ เราก็อาจทำงานถึกโดยไม่จำเป็น…
ที่ผมเจอบ่อย คือ บางทีเราต้องการจะเอาผลลัพธ์แต่ละช่องมาคูณกัน แต่คูณกันหลายตัวมาก… บางคนไม่รู้จักฟังก์ชั่น PRODUCT ก็จะจับคูณกันตามปกติ แต่ถ้าหากรู้จักฟังก์ชั่นนี้ ก็จะพบว่าสามารถลากทั้งแถบได้เลย เช่น


นี่แค่ฟังก์ชั่นเดียวนะ แล้วลองคิดดูว่าเราอาจเผลอทำอะไรถึกๆ โดยไม่จำเป็นอยู่เยอะแยะแค่ไหนครับ! (เช่น ฟังก์ชั่นคล้ายๆกับแบบนี้ก็มี SUMPRODUCT อีก ที่เอาไว้คูณแต่ละคู่อันดับแล้วจับมาบวกกัน)
ดังนั้นถ้าเริ่มรู้สึกว่าตัวเองถึกแปลกๆ ให้ลอง Google หาคำตอบดูก่อน เผื่อมีคนเจอปัญหาแบบเดียวกับเราแล้วเจอทางแก้ไขแบบง่ายๆ แล้วนะครับ
7. ใช้ Picture Link ช่วยตรวจผลกระทบที่ช่องปลายทาง
เวลาต้องการตรวจผลกระทบต่อการกรอกข้อมูลช่องนึงไปยังอีกช่องนึง (โดยเฉพาะช่องที่อยู่ไกลๆ) เราสามารถใช้ Picture Link  มาช่วยได้ (มีตั้งแต่ Excel 2007 ขึ้นไป) โดย
·                     ให้ Copy Range ปลายทาง ที่ต้องการดูผลลัพธ์
·                     Paste ที่ใกล้ๆ กับช่องต้นทาง โดยให้เลือก => Paste =>As Picture => Paste Picture Link
·                     ย่อ/ขยาย/เคลื่อนย้ายรูปได้ตามสะดวก
·                     ลองเปลี่ยนค่าต้นทางดู เพื่อดู Effect ที่ปลายทาง


8. ใช้ Paste Column Widths แทนการนั่งปรับความกว้างของคอลัมน์เอง
ผมเคยเจอบางท่านนั่งจัดความกว้างของคอลัมน์ใน Excel ให้เท่ากับต้นฉบับ ซึ่งบางคนนั่งจัดได้เป๊ะมาก น่านับถือในความพยายามยิ่งนัก! แต่ผมจะบอกว่ามันไม่จำเป็นเลย ในเมื่อเราสามารถ Copy แม้แต่ความกว้างของคอลัมน์ได้
วิธีการ
·                     เลือกที่ cell หรือ range ต้นฉบับที่ต้องการ copy ความกว้างคอลัมน์มา
·                     กด copy
·                     ไปเลือกที่ช่องปลายทาง
·                     กด Paste Special => Column Widths
9.  Lock Format Painter เอาไว้ เพื่อให้ Paint ช่องปลายทางได้ทีละหลายๆ รอบ
ผมคิดว่าหลายๆ ท่านคงเคยใช้ Format Painter กันบ้างแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าเวลาสมมติอยากจะ copy format  จากช่องนึง ไป Paste ยังช่องปลายทาง หลายๆ ช่องที่ไม่ติดกัน เพื่อนๆ ทำยังไง
ถ้าคนไม่รู้เทคนิค อาจใช้วิธี เลือกช่องต้นฉบับ … แล้วกดปุ่ม Format Painter 1 ที… แล้วกดช่องปลายทาง 1 ที… จากนั้น เริ่มใหม่ ไปที่ช่องต้นฉบับ อีกที painter อีกที ปลายทางอีกที…ไปเรื่อยๆ.. ซึ่งเสียเวลามากครับ!!

วิธีที่ดีกว่าคือ
1.       ให้เลือกช่องต้นฉบับ
2.       ดับเบิ้ลคลิ๊ก ที่ปุ่ม Format Painter (ปุ่มจะถูกเลือกค้างไว้เลย ต่างจากการกดปกติที่กดเพียง 1 ที)
3.       เลือกช่องปลายทางกี่ทีก็ได้ตามต้องการ
4.       หากจะเลิก Paint ค่อยกลับมากดปุ่ม Format Painter อีกครั้งหนึ่ง
10. ทำงานใน Excel แล้วค่อยใช้ Copy ไป Paste as Link ลงที่อื่น
เมื่อมีการทำข้อมูลเป็นตาราง มีการคำนวณ หรือมีกราฟ ผมแนะนำให้ใช้ Excel ทำงาน แล้วค่อย Copy เป็น Link ไปยัง MS Word หรือ PowerPoint ปลายทางแทน
เหตุผล :
·                     เนื่องจาก Excel มีความยืดหนุ่นสูง เวลาค่า input บางอย่างในตารางเปลี่ยนไป ค่า output จะถูกคำนวณใหม่ทันที ไม่ต้องมาพิมพ์ซ้ำลงไปอีก (จะเนื่องจากอะไรก็แล้วแต่ เช่น เจ้านายสั่งเพิ่ม เราทำผิดเอง หรือข้อมูลใหม่เพิ่งจะมา)
·                     การรวมข้อมูลอยู่ในที่เดียวกันคือใน Excel แล้ว Link ไปแสดงในที่ต่างๆ ย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่าทำข้อมูลในหลายๆที่และ ทำให้ไม่มี conflictด้านข้อมูล
วิธี Copy ไป Paste เป็น Link :
1.       ให้ Copy ข้อมูลตาราง หรือ กราฟใน Excel
2.       เปิด MS Word หรือ PowerPoint ที่เป็นโปรแกรมปลายทาง
3.       Paste => Paste Special => เลือก Paste Link
 ที่มา:http://www.inwexcel.com/10-excel-tips-speed-up-work/

        บทที่7 การใช้โปรเเกรมในการคำนวณ
ภาพรวมของสูตรใน Excel
นำไปใช้กับ: Excel 2016 , Excel 2013
ถ้าคุณยังไม่คุ้นเคยกับ Excel คุณจะค้นพบในไม่ช้าว่า นี่ไม่ได้เป็นเพียงแค่ตารางสำหรับให้คุณใส่ตัวเลขลงในคอลัมน์หรือแถวเท่านั้น ใช่ คุณสามารถใช้ Excel เพื่อหาผลรวมคอลัมน์หรือแถวของตัวเลขได้ แต่คุณยังสามารถใช้คำนวณค่าจำนองรายเดือน แก้โจทย์คณิตศาสตร์หรือปัญหาทางวิศวกรรม หรือค้นหากรณีที่ดีที่สุดโดยยึดตามค่าตัวแปรที่คุณใส่ไว้ได้อีกด้วย
Excel ทำสิ่งนี้ได้ด้วยการใช้สูตรต่างๆ ในเซลล์ สูตรจะทำการคำนวณหรือดำเนินการรูปแบบอื่นๆ กับข้อมูลในเวิร์กชีตของคุณ สูตรจะขึ้นต้นด้วยเครื่องหมายเท่ากับ (=) เสมอ ซึ่งสามารถตามด้วยตัวเลข ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (เช่น เครื่องหมายบวกหรือเครื่องหมายลบ) และฟังก์ชันซึ่งสามารถเพิ่มประโยชน์ของสูตรได้อย่างเต็มที่
ตัวอย่างเช่น สูตรต่อไปนี้จะคูณ 2 ด้วย 3 แล้วจึงบวก 5 เข้ากับผลลัพธ์ที่ได้ก็จะได้คำตอบเท่ากับ 11
=2*3+5
สูตรต่อไปนี้ใช้ฟังก์ชัน PMT เพื่อคำนวณการชำระค่าจำนอง ($1,073.64) โดยยึดตามอัตราดอกเบี้ย 5 เปอร์เซ็นต์ (5% หารด้วย 12 เดือนเท่ากับอัตราดอกเบี้ยรายเดือน) เป็นระยะเวลา 30 ปี (360 เดือน) สำหรับเงินกู้จำนวน 200,000 ดอลลาร์
=PMT(0.05/12,360,200000)
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเพิ่มเติมบางตัวอย่างที่คุณสามารถใส่ลงในเวิร์กชีตได้
·         =A1+A2+A3    บวกค่าในเซลล์ A1, A2 และ A3
·         =SQRT(A1)    ใช้ฟังก์ชัน SQRT เพื่อส่งกลับรากที่สองของค่าใน A1
·         =TODAY()    ส่งกลับค่าวันที่ปัจจุบัน
·         =UPPER(”hello”)    แปลงข้อความ “hello” เป็น “HELLO” แปลงข้อความ “hello” เป็น “HELLO” โดยใช้ฟังก์ชัน UPPER
·         =IF(A1>0)    ทดสอบเซลล์ A1 เพื่อระบุว่าเซลล์นั้นมีค่าที่มากกว่า 0 อยู่หรือไม่
ในบทความนี้
สิ่งสำคัญ: ผลลัพธ์จากการคำนวณของสูตรและฟังก์ชันเวิร์กชีต Excel จำนวนหนึ่งอาจแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างพีซีที่ใช้ Windows ที่มีสถาปัตยกรรมแบบ x86 หรือx86-64 กับพีซีที่ใช้ Windows RT ที่มีสถาปัตยกรรมแบบ ARM เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความแตกต่าง
ส่วนต่างๆ ของสูตร Excel
สูตรอาจประกอบด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือทั้งหมดต่อไปนี้คือ ฟังก์ชัน การอ้างอิง ตัวดำเนินการ และ ค่าคงที่
ส่วนต่างๆ ของสูตร   
1. ฟังก์ชัน เช่น ฟังก์ชัน PI() ส่งกลับค่าของ Pi คือ 3.142...
2. การอ้างอิง เช่น A2 ส่งกลับค่าในเซลล์ A2
3. ค่าคงที่ คือ ค่าของจำนวนหรือค่าของข้อความที่ใส่เข้าไปยังสูตรโดยตรง เช่น 2
4. ตัวดำเนินการ เช่น ตัวดำเนินการ ^ (แคเรท) ทำหน้าที่ยกกำลังตัวเลข และตัวดำเนินการ * (เครื่องหมายดอกจัน) ทำหน้าที่คูณตัวเลข
การใช้ค่าคงที่ในสูตร Excel
ค่าคงที่คือค่าที่ไม่ได้มาจากการคำนวณ นั่นคือ ค่าจะเท่าเดิมอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น วันที่ 9/10/2008, ตัวเลข 210 และข้อความ "รายได้รายไตรมาส" ทั้งหมดนี้เป็นค่าคงที่ ส่วน นิพจน์หรือค่าที่เป็นผลลัพธ์ของนิพจน์ไม่ใช่ค่าคงที่ ถ้าคุณใช้ค่าคงที่ในสูตรแทนการอ้างอิงไปยังเซลล์ (ตัวอย่างเช่น =30+70+110) ผลลัพธ์จะเปลี่ยนแปลงก็ต่อเมื่อคุณปรับเปลี่ยนสูตรเท่านั้น
การใช้ตัวดำเนินการการคำนวณในสูตร Excel
ตัวดำเนินการจะระบุถึงชนิดของการคำนวณที่คุณต้องการดำเนินการกับองค์ประกอบของสูตร โดยจะมีแบบแผนของลำดับที่การคำนวณจะเกิดขึ้น (ซึ่งเป็นไปตามกฎทางคณิตศาสตร์ทั่วไป) แต่คุณสามารถเปลี่ยนลำดับนี้ได้โดยใช้วงเล็บ
ชนิดของตัวดำเนินการ
มีตัวดำเนินการคำนวณที่ต่างกันอยู่สี่ชนิด ได้แก่ คณิตศาสตร์ การเปรียบเทียบ การนำข้อความมาต่อกัน และการอ้างอิง
ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
ถ้าต้องการดำเนินการคำนวณด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น บวก ลบ คูณ หรือหาร หรือเมื่อต้องการรวมตัวเลข และหาผลลัพธ์เป็นตัวเลข ให้ใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ต่อไปนี้
ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
ความหมาย
ตัวอย่าง
+ (เครื่องหมายบวก)
การบวก
3+3
- (เครื่องหมายลบ)
การลบ
จำนวนติดลบ
3–1
–1
* (เครื่องหมายดอกจัน)
การคูณ
3*3
/ (เครื่องหมายทับ)
การหาร
3/3
% (เครื่องหมายเปอร์เซ็นต์)
เปอร์เซ็นต์
20%
^ (แคเรท)
การยกกำลัง
3^2
ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
คุณสามารถเปรียบเทียบค่าสองค่าได้โดยใช้ตัวดำเนินการต่อไปนี้ เมื่อค่าสองค่าถูกเปรียบเทียบโดยใช้ตัวดำเนินการเหล่านี้ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นค่าตรรกะ คือเป็นค่าTRUE หรือ FALSE
ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
ความหมาย
ตัวอย่าง
= (เครื่องหมายเท่ากับ)
เท่ากับ
A1=B1
> (เครื่องหมายมากกว่า)
มากกว่า
A1>B1
< (เครื่องหมายน้อยกว่า)
น้อยกว่า
A1<B1
>= (เครื่องหมายมากกว่าหรือเท่ากับ)
มากกว่าหรือเท่ากับ
A1>=B1
<= (เครื่องหมายน้อยกว่าหรือเท่ากับ)
น้อยกว่าหรือเท่ากับ
A1<=B1
<> (เครื่องหมายไม่เท่ากับ)
ไม่เท่ากับ
A1<>B1
ตัวดำเนินการต่อข้อความ
ใช้เครื่องหมาย และ (&) ในการต่อ (รวม) สตริงข้อความตั้งแต่หนึ่งสตริงขึ้นไป เพื่อสร้างเป็นข้อความชิ้นเดียว
ตัวดำเนินการข้อความ
ความหมาย
ตัวอย่าง
& (เครื่องหมาย 'และ')
เชื่อมต่อ หรือต่อค่าสองค่า เพื่อรวมเป็นค่าข้อความที่ต่อเนื่องกัน
"North"&"wind" ให้ผลลัพธ์เป็น "Northwind"
ตัวดำเนินการอ้างอิง
ใช้รวมช่วงของเซลล์สำหรับการคำนวณด้วยตัวดำเนินการต่อไปนี้
ตัวดำเนินการอ้างอิง
ความหมาย
ตัวอย่าง
: (เครื่องหมายจุดคู่)
ตัวดำเนินการช่วง ซึ่งสร้างการอ้างอิงไปยังเซลล์ทั้งหมดที่อยู่ระหว่างเซลล์อ้างอิงสองเซลล์ รวมทั้งตัวเซลล์อ้างอิงทั้งสองเซลล์นั้นด้วย
B5:B15
, (เครื่องหมายจุลภาค)
ตัวดำเนินการยูเนียน ซึ่งรวมการอ้างอิงหลายๆ ชุดเข้าด้วยกันเป็นการอ้างอิงหนึ่งชุด
SUM(B5:B15,D5:D15)
(ช่องว่าง)
ตัวดำเนินการอินเตอร์เซกชัน ซึ่งสร้างการอ้างอิงหนึ่งรายการไปยังเซลล์ร่วมของการอ้างอิงทั้งสองชุด
B7:D7 C6:C8
ลำดับการดำเนินการของ Excel ในสูตร
ในบางกรณี ลำดับของการทำการคำนวณอาจมีผลต่อค่าที่สูตรจะส่งกลับ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้าใจถึงวิธีที่ลำดับถูกกำหนด และวิธีที่คุณจะสามารถเปลี่ยนลำดับเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คุณต้องการ
ลำดับในการคำนวณ
สูตรจะคำนวณค่าต่างๆ ตามลำดับที่เฉพาะเจาะจง โดยสูตรใน Excel จะเริ่มต้นด้วยเครื่องหมายเท่ากับ (=) เสมอ ซึ่ง Excel จะตีความอักขระต่างๆ ที่ตามหลังเครื่องหมายเท่ากับว่าเป็นสูตร ส่วนที่อยู่ต่อจากเครื่องหมายเท่ากับคือองค์ประกอบที่จะนำไปคำนวณ (ตัวถูกดำเนินการ) เช่น ค่าคงที่หรือการอ้างอิงเซลล์ ซึ่งจะถูกคั่นด้วยตัวดำเนินการคำนวณ Excel จะคำนวณสูตรจากซ้ายไปขวาตามลำดับที่เฉพาะเจาะจงสำหรับตัวดำเนินการแต่ละตัวในสูตรนั้น
ความสำคัญของตัวดำเนินการในสูตร Excel
ถ้าคุณรวมตัวดำเนินการหลายๆ ตัวไว้ในสูตรเดียวกัน Excel จะคำนวณตามลำดับที่แสดงอยู่ในตารางต่อไปนี้ ถ้าสูตรมีตัวดำเนินการที่มีลำดับความสำคัญเท่ากัน ตัวอย่างเช่น ถ้าสูตรมีทั้งตัวดำเนินการการคูณและการหาร Excel จะคำนวณตัวดำเนินการเหล่านี้จากซ้ายไปขวา
ตัวดำเนินการ
คำอธิบาย
: (เครื่องหมายจุดคู่)
(ช่องว่างเดี่ยว)
, (เครื่องหมายจุลภาค)
ตัวดำเนินการอ้างอิง
จำนวนติดลบ (เช่น –1)
%
เปอร์เซ็นต์
^
การยกกำลัง
และ /
การคูณและการหาร
และ –
การบวกและการลบ
&
เชื่อมสตริงข้อความสองสตริง (การเรียงต่อกัน)
=
< >
<=
>=
<>
การเปรียบเทียบ
ใช้วงเล็บในสูตร Excel
เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงลำดับของการประเมิน ให้ใส่วงเล็บคร่อมส่วนของสูตรที่จะให้คำนวณเป็นลำดับแรก ตัวอย่างเช่น สูตรต่อไปนี้ให้ผลลัพธ์เป็น 11 เนื่องจากExcel ทำการคูณก่อนการบวก โดยสูตรจะคูณ 2 ด้วย 3 แล้วจึงนำผลลัพธ์มาบวกกับ 5
=5+2*3
แต่อีกแบบหนึ่ง ถ้าคุณใช้วงเล็บเพื่อเปลี่ยนไวยากรณ์ Excel จะบวก 5 กับ 2 ก่อน แล้วจึงคูณด้วย 3 ได้ผลลัพธ์เป็น 21
=(5+2)*3
ในตัวอย่างต่อไปนี้ วงเล็บที่ล้อมรอบส่วนแรกของสูตรจะบังคับให้ Excel คำนวณ B4+25 ก่อนแล้วจึงหารผลลัพธ์ที่ได้จากผลรวมของค่าในเซลล์ D5, E5 และ F5
=(B4+25)/SUM(D5:F5)
การใช้ฟังก์ชันและฟังก์ชันที่ซ้อนกันในสูตร Excel
ฟังก์ชันคือสูตรที่กำหนดไว้ล่วงหน้าซึ่งจะทำการคำนวณโดยใช้ค่าที่ระบุ (เรียกว่า อาร์กิวเมนต์) ในลำดับหรือโครงสร้างที่แน่นอน ฟังก์ชันสามารถใช้ในการคำนวณทั้งอย่างง่ายหรืออย่างซับซ้อน
ไวยากรณ์ของฟังก์ชัน Excel
ตัวอย่างต่อไปนี้ของฟังก์ชัน ROUND ที่ปัดเศษของตัวเลขในเซลล์ A10 แสดงไวยากรณ์ของฟังก์ชัน
โครงสร้างของฟังก์ชัน   

1. โครงสร้าง โครงสร้างของฟังก์ชันจะเริ่มต้นด้วยเครื่องหมายเท่ากับ (=) ตามด้วยชื่อฟังก์ชัน วงเล็บเปิด อาร์กิวเมนต์ต่างๆ สำหรับฟังก์ชันที่คั่นจากกันด้วยเครื่องหมายจุลภาค และวงเล็บปิด
2. ชื่อฟังก์ชัน เมื่อต้องการดูรายการฟังก์ชันที่มีอยู่ ให้คลิกเซลล์และกด SHIFT+F3
3. อาร์กิวเมนต์ อาร์กิวเมนต์อาจเป็นตัวเลข ข้อความ ค่าตรรกะ (เช่น TRUE หรือ FALSE) อาร์เรย์ ค่าความผิดพลาด (เช่น #N/A) หรือการอ้างอิงเซลล์ก็ได้ อาร์กิวเมนต์ที่คุณระบุต้องให้ค่าที่ถูกต้องสำหรับอาร์กิวเมนต์นั้น อาร์กิวเมนต์ยังอาจเป็นค่าคงที่ สูตร หรือฟังก์ชันอื่นๆ ได้อีกด้วย
4. คำแนะนำเครื่องมืออาร์กิวเมนต์ คำแนะนำเครื่องมือพร้อมด้วยไวยากรณ์และอาร์กิวเมนต์จะปรากฏขึ้นเมื่อคุณพิมพ์ฟังก์ชัน ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณพิมพ์ =ROUND(คำแนะนำเครื่องมือจะปรากฏขึ้น คำแนะนำเครื่องมือจะปรากฏขึ้นสำหรับฟังก์ชันที่มีอยู่แล้วภายในเท่านั้น
การใส่ฟังก์ชัน Excel   
เมื่อคุณสร้างสูตรที่มีฟังก์ชัน คุณสามารถใช้กล่องโต้ตอบ แทรกฟังก์ชัน เพื่อช่วยคุณในการใส่ฟังก์ชันเวิร์กชีตได้ ในขณะที่คุณใส่ฟังก์ชันเวิร์กชีตลงในสูตร กล่องโต้ตอบ แทรกฟังก์ชัน จะแสดงชื่อของฟังก์ชัน อาร์กิวเมนต์แต่ละตัวของฟังก์ชัน คำอธิบายของฟังก์ชันและอาร์กิวเมนต์แต่ละตัว ผลลัพธ์ปัจจุบันของฟังก์ชัน และผลลัพธ์ปัจจุบันของสูตรทั้งสูตร
ถ้าจะให้สร้างและแก้ไขสูตรได้ง่ายขึ้น และให้มีข้อผิดพลาดในการพิมพ์และทางไวยากรณ์น้อยที่สุด ให้ใช้การทำให้สูตรสมบูรณ์อัตโนมัติ หลังจากคุณพิมพ์ = (เครื่องหมายเท่ากับ) และตัวอักษรเริ่มต้นหรือทริกเกอร์ที่ใช้แสดงแล้ว Excel จะแสดงไว้ที่ใต้เซลล์นั้นเป็นรายการดรอปดาวน์แบบไดนามิกของฟังก์ชัน อาร์กิวเมนต์ และชื่อที่ถูกต้องที่ตรงกับตัวอักษรหรือทริกเกอร์นั้น จากนั้นคุณสามารถแทรกรายการหนึ่งจากรายการดรอปดาวน์นั้นไว้ในสูตรดังกล่าวได้
การซ้อนฟังก์ชัน Excel   
ในบางกรณี คุณอาจจำเป็นต้องใช้ฟังก์ชันหนึ่งเป็นอาร์กิวเมนต์ของอีกฟังก์ชันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น สูตรต่อไปนี้ใช้ฟังก์ชันซ้อนAVERAGE และเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้กับค่า50

1. ฟังก์ชัน AVERAGE และ SUM จะซ้อนอยู่ภายในฟังก์ชัน IF
ค่าส่งกลับที่ถูกต้อง    เมื่อฟังก์ชันซ้อนถูกใช้เป็นอาร์กิวเมนต์ ฟังก์ชันซ้อนนั้นจะต้องส่งกลับค่าที่เป็นชนิดเดียวกับที่อาร์กิวเมนต์นั้นใช้ ตัวอย่างเช่น หากอาร์กิวเมนต์นั้นส่งกลับค่า TRUE หรือ FALSE ฟังก์ชันซ้อนก็จะต้องส่งกลับค่า TRUE หรือ FALSE เช่นกัน ไม่เช่นนั้น Excel จะแสดง #VALUE! เป็นค่าความผิดพลาด
ข้อจำกัดของระดับการซ้อน    สูตรสามารถมีฟังก์ชันซ้อนกันอยู่ได้ไม่เกินเจ็ดระดับ เมื่อฟังก์ชันหนึ่ง (ซึ่งเราจะเรียกว่าฟังก์ชัน B) ถูกใช้เป็นอาร์กิวเมนต์ในอีกฟังก์ชันหนึ่ง (ซึ่งเราจะเรียกว่าฟังก์ชัน A) ฟังก์ชัน B จะทำหน้าที่เป็นฟังก์ชันระดับที่สอง ตัวอย่างเช่น ฟังก์ชัน AVERAGE และฟังก์ชัน SUM ต่างก็เป็นฟังก์ชันระดับที่สองทั้งคู่ถ้าถูกใช้เป็นอาร์กิวเมนต์ของฟังก์ชัน IF และฟังก์ชันที่ซ้อนอยู่ภายในฟังก์ชันซ้อน AVERAGE ก็จะเป็นฟังก์ชันระดับที่สาม เช่นนี้ไปเรื่อยๆ
การใช้การอ้างอิงในสูตร Excel
การอ้างอิงจะระบุเซลล์หรือช่วงของเซลล์บนเวิร์กชีต และบอก Excel ว่าจะหาค่าหรือข้อมูลที่คุณต้องการใช้ในสูตรได้จากที่ใด คุณสามารถใช้การอ้างอิงเพื่อใช้ข้อมูลที่อยู่ในคนละส่วนของเวิร์กชีตในสูตรเดียว หรือใช้ค่าจากเซลล์เดียวในหลายๆ สูตรได้ คุณยังสามารถอ้างอิงไปยังเซลล์ในเวิร์กชีตอื่นในเวิร์กบุ๊กเดียวกัน และไปยังเวิร์กบุ๊กอื่นได้อีกด้วย การอ้างอิงไปยังเซลล์ในเวิร์กบุ๊กอื่นจะเรียกว่าลิงก์หรือการอ้างอิงภายนอก
สไตล์การอ้างอิงแบบ A1    ตามค่าเริ่มต้น Excel จะใช้สไตล์การอ้างอิงแบบ A 1 ซึ่งอ้างอิงไปยังคอลัมน์ด้วยอักษร (ถึง XFD สำหรับคอลัมน์ทั้งหมด 16,384คอลัมน์) และอ้างอิงไปยังแถวด้วยหมายเลข (ถึง 1,048,576) อักษรและหมายเลขเหล่านี้เรียกว่าหัวแถวและหัวคอลัมน์ เมื่อต้องการอ้างอิงไปยังเซลล์ ให้ใส่อักษรคอลัมน์ตามด้วยหมายเลขแถว ตัวอย่างเช่น B2 จะเป็นการอ้างอิงไปยังเซลล์ที่จุดตัดของคอลัมน์ B และแถว 2
เมื่อต้องการอ้างอิง
ให้ใช้
เซลล์ในคอลัมน์ A และแถวที่ 10
A10
ช่วงเซลล์ในคอลัมน์ A และแถวที่ 10 ถึง 20
A10:A20
ช่วงเซลล์ในแถวที่ 15 และคอลัมน์ B ถึง E
B15:E15
เซลล์ทั้งหมดในแถวที่ 5
5:5
เซลล์ทั้งหมดในแถวที่ 5 ถึง 10
5:10
เซลล์ทั้งหมดในคอลัมน์ H
H:H
เซลล์ทั้งหมดในคอลัมน์ H ถึง J
H:J
ช่วงเซลล์ในคอลัมน์ A ถึง E และแถวที่ 10 ถึง 20
A10:E20
การสร้างการอ้างอิงไปยังเวิร์กชีตอื่น    ในตัวอย่างต่อไปนี้ ฟังก์ชัน AVERAGE จะคำนวณค่าเฉลี่ยในช่วง B1:B10 บนเวิร์กชีตชื่อ การตลาด ภายในเวิร์กบุ๊กเดียวกัน
การอ้างอิงไปยังช่วงของเซลล์ในเวิร์กชีตอื่นในเวิร์กบุ๊กเดียวกัน   

1. อ้างอิงไปยังเวิร์กชีตชื่อ Marketing
2. อ้างอิงไปยังช่วงของเซลล์ระหว่างและรวมทั้งเซลล์ B1 และ B10
3. คั่นการอ้างอิงเวิร์กชีตจากการอ้างอิงช่วงของเซลล์
ความแตกต่างระหว่างการอ้างอิงสัมบูรณ์ การอ้างอิงสัมพัทธ์ และการอ้างอิงผสม
การอ้างอิงแบบสัมพัทธ์    การอ้างอิงเซลล์สัมพัทธ์ในสูตร เช่น A1 จะยึดตามตำแหน่งสัมพัทธ์ของเซลล์ที่มีสูตรนั้น และเซลล์ที่มีการอ้างอิงไปถึง ถ้าตำแหน่งของเซลล์ที่มีสูตรเปลี่ยนแปลง การอ้างอิงก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ถ้าคุณคัดลอกหรือเติมสูตรตามแถวหรือตามคอลัมน์ จะมีการปรับการอ้างอิงโดยอัตโนมัติ ตามค่าเริ่มต้นแล้ว สูตรใหม่จะใช้การอ้างอิงแบบสัมพัทธ์ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณคัดลอกหรือเติมการอ้างอิงแบบสัมพัทธ์ในเซลล์ B2 ไปยังเซลล์ B3 การอ้างอิงจะปรับจาก =A1 เป็น =A2โดยอัตโนมัติ
สูตรที่คัดลอกมาที่มีการอ้างอิงแบบสัมพัทธ์   

การอ้างอิงแบบสัมบูรณ์    การอ้างอิงเซลล์แบบสัมบูรณ์ในสูตร เช่น $A$1 จะอ้างอิงไปยังเซลล์ในตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจงเสมอ ถ้าตำแหน่งของเซลล์ที่มีสูตรเปลี่ยนแปลง การอ้างอิงแบบสัมบูรณ์จะยังคงเหมือนเดิม ถ้าคุณคัดลอกหรือเติมสูตรตามแถวหรือตามคอลัมน์ จะไม่มีการปรับการอ้างอิงแบบสัมบูรณ์แต่อย่างใด ตามค่าเริ่มต้นแล้ว สูตรใหม่จะใช้การอ้างอิงแบบสัมพัทธ์ คุณจึงอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนการอ้างอิงเหล่านั้นให้เป็นการอ้างอิงแบบสัมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณคัดลอกหรือเติมการอ้างอิงแบบสัมบูรณ์ในเซลล์ B2 ไปยังเซลล์ B3 การอ้างอิงจะเหมือนกันทั้งในสองเซลล์คือ =$A$1
สูตรที่คัดลอกมาที่มีการอ้างอิงแบบสัมบูรณ์   

การอ้างอิงแบบผสม    การอ้างอิงแบบผสมจะมีคอลัมน์สัมบูรณ์และแถวสัมพัทธ์ หรือแถวสัมบูรณ์และคอลัมน์สัมพัทธ์ การอ้างอิงคอลัมน์แบบสัมบูรณ์จะใช้รูปแบบ$A1, $B1, ฯลฯ การอ้างอิงแถวแบบสัมบูรณ์จะใช้ฟอร์ม A$1, B$1, ฯลฯ ถ้าตำแหน่งของเซลล์ที่มีสูตรเปลี่ยนแปลงไป การอ้างอิงแบบสัมพัทธ์จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย แต่การอ้างอิงแบบสัมบูรณ์จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าคุณคัดลอกหรือเติมสูตรตามแถวหรือตามคอลัมน์ จะมีการปรับการอ้างอิงแบบสัมพัทธ์โดยอัตโนมัติ แต่จะไม่มีการปรับการอ้างอิงแบบสัมบูรณ์แต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณคัดลอกหรือเติมการอ้างอิงแบบผสมจากเซลล์ A2 ไปยัง B3 การอ้างอิงจะปรับจาก =A$1 เป็น =B$1
สูตรที่ถูกคัดลอกที่มีการอ้างอิงแบบผสม   

สไตล์การอ้างอิงสามมิติ
การอ้างอิงไปยังเวิร์กชีตหลายแผ่นได้โดยสะดวก    ถ้าคุณต้องการวิเคราะห์ข้อมูลในเซลล์หรือช่วงของเซลล์ที่อยู่ตำแหน่งเดียวกันบนเวิร์กชีตหลายๆ แผ่นในเวิร์กบุ๊กหนึ่ง ให้ใช้การอ้างอิงสามมิติ การอ้างอิงสามมิติประกอบด้วยการอ้างอิงเซลล์หรือช่วงเซลล์ที่นำหน้าด้วยช่วงของชื่อเวิร์กชีต Excel จะใช้เวิร์กชีตใดก็ตามที่มีการจัดเก็บอยู่ระหว่างชื่อแรกและชื่อสุดท้ายของการอ้างอิง ตัวอย่างเช่น =SUM(Sheet2:Sheet13!B5) จะบวกทุกค่าในเซลล์ B5 บนทุกเวิร์กชีตตั้งแต่ Sheet 2 ถึง Sheet 13
·         คุณสามารถใช้การอ้างอิงสามมิติเพื่ออ้างอิงไปยังเซลล์บนเวิร์กชีตอื่น กำหนดชื่อ และสร้างสูตรโดยใช้ฟังก์ชันต่อไปนี้ ได้แก่ SUM, AVERAGE, AVERAGEA, COUNT, COUNTA, MAX, MAXA, MIN, MINA, PRODUCT, STDEV.P, STDEV.S, STDEVA, STDEVPA, VAR.P, VAR.S, VARA และ VARPA
·         การอ้างอิงสามมิติ ใช้ไม่ได้ในสูตรอาร์เรย์
·         การอ้างอิงสามมิติ ใช้ไม่ได้กับ ตัวดำเนินการอินเตอร์เซกชัน (ช่องว่างเดี่ยว) หรือในสูตรที่ใช้อินเทอร์เซกชันโดยนัย
สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณย้าย คัดลอก แทรก หรือลบเวิร์กชีต    ตัวอย่างต่อไปนี้อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณย้าย คัดลอก แทรก หรือลบเวิร์กชีตที่อยู่ในการอ้างอิงสามมิติ ตัวอย่างนี้ใช้สูตร =SUM(Sheet2:Sheet6!A2:A5) เพื่อบวกค่าของเซลล์ A2 ถึง A5 บนเวิร์กชีตที่ 2 ถึง 6
·         แทรกหรือคัดลอก    ถ้าคุณแทรกหรือคัดลอกแผ่นงานระหว่าง Sheet2 ถึง Sheet6 (จุดสิ้นสุดในตัวอย่างนี้) Excel จะรวมค่าทั้งหมดในเซลล์ A2 ถึง A5 จากแผ่นงานที่เพิ่มเข้ามาไว้ในการคำนวณด้วย
·         ลบ    ถ้าคุณลบแผ่นงานที่อยู่ระหว่าง Sheet2 ถึง Sheet6 ออก Excel จะเอาค่าจากแผ่นงานเหล่านั้นออกจากการคำนวณ
·         ย้าย    ถ้าคุณย้ายแผ่นงานที่อยู่ระหว่าง Sheet2 ถึง Sheet6 ไปยังตำแหน่งที่ตั้งซึ่งอยู่นอกช่วงแผ่นงานที่อ้างอิงถึง Excel จะเอาค่าจากแผ่นงานเหล่านั้นออกจากการคำนวณ
·         ย้ายจุดสิ้นสุด    ถ้าคุณย้าย Sheet2 หรือ Sheet6 ไปที่ตำแหน่งที่ตั้งอื่นภายในเวิร์กบุ๊กเดียวกัน Excel จะปรับการคำนวณให้เข้ากับช่วงใหม่ของแผ่นงานที่อยู่ระหว่างแผ่นงานทั้งสอง
·         ลบจุดสิ้นสุด    ถ้าคุณลบ Sheet2 หรือ Sheet6 Excel จะปรับการคำนวณให้เข้ากับช่วงของแผ่นงานที่อยู่ระหว่างแผ่นงานทั้งสอง
สไตล์การอ้างอิงแบบ R1C1
คุณยังสามารถใช้สไตล์การอ้างอิงที่มีการใส่หมายเลขให้กับแถวและคอลัมน์บนเวิร์กชีตได้เช่นกัน สไตล์การอ้างอิงแบบ R1C1 มีประโยชน์ในการคำนวณตำแหน่งแถวและคอลัมน์ในแมโคร ในสไตล์แบบ R1C1 นี้ Excel จะระบุตำแหน่งที่ตั้งของเซลล์ด้วย "R" ตามด้วยหมายเลขแถว และ "C" ตามด้วยหมายเลขคอลัมน์
อ้างอิง
ความหมาย
R[-2]C
การอ้างอิงสัมพัทธ์ ไปยังเซลล์ที่อยู่เหนือขึ้นไปสองแถวและภายในคอลัมน์เดียวกัน
R[2]C[2]
การอ้างอิงสัมพัทธ์ไปที่เซลล์สองแถวลงมาและสองคอลัมน์ทางขวา
R2C2
การอ้างอิงสัมบูรณ์ไปยังเซลล์ที่อยู่ในแถวที่สองและในคอลัมน์ที่สอง
R[-1]
การอ้างอิงสัมพัทธ์ไปที่ทั้งแถวเหนือเซลล์ที่ใช้งานอยู่
R
การอ้างอิงสัมบูรณ์ไปที่แถวปัจจุบัน
เมื่อคุณบันทึกแมโคร Excel จะบันทึกคำสั่งบางคำสั่งโดยใช้สไตล์การอ้างอิงแบบ R1C1 ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณบันทึกคำสั่ง เช่น การคลิกปุ่ม ผลรวมอัตโนมัติ เพื่อแทรกสูตรที่หาผลรวมช่วงเซลล์ Excel ก็จะบันทึกสูตรโดยใช้สไตล์การอ้างอิงแบบ R1C1 ไม่ใช่แบบ A1
คุณสามารถเปิดหรือปิดสไตล์การอ้างอิงเซลล์แบบ R1C1 ได้ด้วยการตั้งค่าหรือล้างกล่องกาเครื่องหมาย สไตล์การอ้างอิงเซลล์แบบ R1C1 ภายใต้ส่วน การทำงานกับสูตร ในประเภท สูตร ของกล่องโต้ตอบ ตัวเลือก เมื่อต้องการแสดงกล่องโต้ตอบนี้ ให้คลิกแท็บ ไฟล์
การใช้ชื่อในสูตร Excel
คุณสามารถสร้างชื่อที่กำหนดเพื่อเป็นตัวแทนเซลล์ ช่วงของเซลล์ สูตร ค่าคงที่ หรือตาราง Excel ได้ ชื่อก็คือการอ้างอิงแบบย่อที่ช่วยให้เข้าใจจุดประสงค์ของการอ้างอิงเซลล์ ค่าคงที่ สูตร หรือตารางได้ง่ายขึ้น ซึ่งแต่ละรายการอาจดูจะเข้าใจได้ยากในตอนแรก ข้อมูลต่อไปนี้จะแสดงตัวอย่างทั่วไปของชื่อ และแสดงให้เห็นว่าการใช้ชื่อเหล่านั้นในสูตรจะสามารถเพิ่มความชัดเจนและทำให้เข้าใจสูตรง่ายขึ้นได้อย่างไร
คัดลอกข้อมูลตัวอย่างในแต่ละตารางต่อไปนี้ และวางในเซลล์ A1 ของเวิร์กชีต Excel ใหม่ เพื่อให้สูตรแสดงผลลัพธ์ ให้เลือกสูตร กด F2 แล้วกด Enter ถ้าต้องการ คุณสามารถปรับความกว้างของคอลัมน์เพื่อดูข้อมูลทั้งหมด
ตัวอย่าง 1
ชนิดตัวอย่าง
ตัวอย่าง การใช้ช่วงแทนการใช้ชื่อ
ตัวอย่าง การใช้ชื่อ
อ้างอิง
=SUM(A16:A20)
=SUM(ยอดขาย)
ค่าคงที่
=PRODUCT(A12,9.5%)
=PRODUCT(ราคา,อัตราภาษีKC)
สูตร
=TEXT(VLOOKUP(MAX(A16,A20),A16:B20,2,FALSE),"m/dd/yyyy")
=TEXT(VLOOKUP(MAX(ยอดขาย),ข้อมูลการขาย,2,FALSE),"m/dd/yyyy")
ตาราง
A22:B25
=PRODUCT(ราคา,ตาราง1[@อัตราภาษี])
ตัวอย่าง 2
ชนิดตัวอย่าง
ตัวอย่างที่ไม่ใช้ชื่อ
ตัวอย่างที่ใช้ชื่อ
สูตรและผลลัพธ์ที่ใช้ชื่อ
อ้างอิง
'=SUM(A9:A13)
'=SUM(ยอดขาย)
=SUM(ยอดขาย)
สูตร
'=TEXT(VLOOKUP(MAX(A9:13),A9:B13,2,FALSE),"m/dd/yyyy")
'=TEXT(VLOOKUP(MAX(ยอดขาย),ข้อมูลการขาย,2,FALSE),"m/dd/yyyy")
=TEXT(VLOOKUP(MAX(ยอดขาย),ข้อมูลการขาย,2,FALSE),"m/dd/yyyy")
ราคา
$995
ยอดขาย
วันที่ที่ขาย
$249
17/3/2554
$399
2/4/2554
$643
23/4/2554
$275
30/4/2554
$447
4/5/2554
หมายเหตุ: ในสูตรในคอลัมน์ C และ D ชื่อที่กำหนดว่า "ยอดขาย" จะถูกแทนที่สำหรับการอ้างอิงไปยัง (ช่วง) A9:A13 และชื่อ "ข้อมูลการขาย" จะถูกแทนที่สำหรับช่วงA9:B13
ชนิดของชื่อ
มีชนิดของชื่ออยู่หลายชนิดที่คุณสามารถสร้างและใช้ได้
ชื่อที่กำหนด    ชื่อที่ใช้แทนเซลล์ ช่วงของเซลล์ สูตร หรือค่าคงที่ คุณสามารถสร้างชื่อที่กำหนดของคุณเองได้ นอกจากนี้ ในบางครั้ง Excel ยังสร้างชื่อที่กำหนดให้คุณอีกด้วย เช่น เมื่อคุณตั้งค่าพื้นที่พิมพ์
ชื่อตาราง    ชื่อสำหรับตาราง Excel ซึ่งเป็นคอลเลกชันของข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เฉพาะเจาะจงที่เก็บอยู่ในระเบียน (แถว) และเขตข้อมูล (คอลัมน์) Excel จะสร้างชื่อตาราง Excel เริ่มต้นเป็น "ตาราง1", "ตาราง2" เรื่อยไปในแต่ละครั้งที่คุณแทรกตาราง Excel แต่คุณสามารถเปลี่ยนชื่อเหล่านี้เพื่อให้สื่อความหมายได้ดีขึ้นได้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตาราง Excel ให้ดู การใช้การอ้างอิงที่มีแบบแผนกับตาราง Excel
การสร้างและป้อนชื่อ
คุณสร้างชื่อโดยใช้
·         กล่องชื่อบนแถบสูตร    วิธีนี้ใช้ได้ดีที่สุดสำหรับการสร้างชื่อระดับเวิร์กบุ๊กสำหรับช่วงที่เลือก
·         สร้างชื่อจากส่วนที่เลือก    คุณสามารถสร้างชื่อได้โดยสะดวกจากป้ายชื่อแถวและคอลัมน์ที่มีอยู่โดยใช้เซลล์ส่วนที่เลือกในเวิร์กชีต
·         กล่องโต้ตอบ 'ชื่อใหม่'    วิธีนี้ใช้ได้ดีที่สุดเมื่อคุณต้องการความยืดหยุ่นมากขึ้นในการสร้างชื่อ อย่างเช่นการระบุขอบเขตของระดับเวิร์กชีตภายในหรือการสร้างข้อคิดเห็นของชื่อ
หมายเหตุ: โดยค่าเริ่มต้นแล้ว ชื่อจะใช้การอ้างอิงเซลล์แบบสัมบูรณ์
คุณสามารถใส่ชื่อด้วยวิธีต่อไปนี้
·         การพิมพ์    ตัวอย่างเช่น การพิมพ์ชื่อเพื่อเป็นอาร์กิวเมนต์ในสูตร
·         การใช้การทำให้สูตรสมบูรณ์อัตโนมัติ    ใช้รายการดรอปดาวน์ของการทำให้สูตรสมบูรณ์อัตโนมัติ โดยรายการจะแสดงชื่อที่ถูกต้องให้กับคุณโดยอัตโนมัติ
·         การเลือกจากคำสั่ง ใช้ในสูตร    เลือกชื่อที่กำหนดจากรายการที่มีอยู่จากคำสั่ง ใช้ในสูตร ในกลุ่ม ชื่อที่กำหนด บน

สูตรอาร์เรย์สามารถทำการคำนวณหลายการคำนวณ แล้วส่งกลับผลลัพธ์เดียวหรือหลายผลลัพธ์ได้ สูตรอาร์เรย์จะดำเนินการกับชุดของค่าอย่างน้อยสองชุดที่เรียกว่าอาร์กิวเมนต์แบบอาร์เรย์ อาร์กิวเมนต์แบบอาร์เรย์แต่ละอาร์กิวเมนต์จะต้องมีจำนวนแถวและคอลัมน์เท่ากัน โดยคุณสามารถสร้างสูตรอาร์เรย์ได้โดยใช้วิธีการเดียวกับที่คุณสร้างสูตรอื่น เว้นแต่ว่าคุณต้องกด CTRL+SHIFT+ENTER เพื่อป้อนสูตรนั้นๆ ฟังก์ชันที่มีอยู่แล้วภายในบางฟังก์ชันก็เป็นสูตรอาร์เรย์ และต้องใส่เป็นอาร์เรย์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
ค่าคงที่อาร์เรย์สามารถใช้เป็นการอ้างอิงเมื่อคุณไม่ต้องการป้อนค่าคงที่แต่ละค่าในเซลล์ที่แยกกันบนเวิร์กชีต
การใช้สูตรอาร์เรย์คำนวณผลลัพธ์เดียวหรือหลายผลลัพธ์
เมื่อคุณใส่สูตรอาร์เรย์ Excel จะแทรกสูตรนั้นไว้ระหว่าง { } (วงเล็บปีกกา) โดยอัตโนมัติ
เมื่อต้องการคำนวณผลลัพธ์เดียว    สูตรอาร์เรย์ชนิดนี้ทำให้รูปแบบของเวิร์กชีตง่ายขึ้นได้โดยการแทนที่หลายๆ สูตรที่ต่างกันด้วยสูตรอาร์เรย์สูตรเดียว
ตัวอย่างเช่น สูตรต่อไปนี้จะคำนวณค่าผลรวมของอาร์เรย์ของราคาหุ้นและส่วนแบ่ง โดยไม่ใช้แถวของเซลล์เพื่อคำนวณและแสดงค่าแต่ละค่าสำหรับหุ้นแต่ละตัว
สูตรอาร์เรย์ที่สร้างผลลัพธ์เดียว   

เมื่อคุณใส่สูตร ={SUM(B2:D2*B3:D3)} เป็นสูตรอาร์เรย์ สูตรจะคูณ จำนวนหุ้น และ ราคา สำหรับแต่ละหุ้น แล้วบวกผลลัพธ์ของการคำนวณเหล่านั้นเข้าด้วยกัน
เมื่อต้องการคำนวณหลายผลลัพธ์    ฟังก์ชันเวิร์กชีตบางฟังก์ชันจะส่งกลับอาร์เรย์ของค่า หรือกำหนดให้อาร์เรย์ของค่าเป็นอาร์กิวเมนต์ เมื่อต้องการคำนวณผลลัพธ์หลายๆ ผลลัพธ์โดยใช้สูตรอาร์เรย์นั้น คุณจะต้องใส่อาร์เรย์ไว้ในช่วงของเซลล์ที่มีจำนวนแถวและคอลัมน์เท่ากันกับของอาร์กิวเมนต์ของอาร์เรย์
ตัวอย่างเช่น ถ้ามีชุดของยอดขายสามยอดอนุกรม (ในคอลัมน์ B) สำหรับชุดของเดือนสามเดือน (ในคอลัมน์ A) ฟังก์ชัน TREND จะหาค่าเส้นตรงให้กับยอดขาย ในการแสดงผลลัพธ์ทั้งหมดของสูตรนั้น ผลลัพธ์จะถูกใส่ไว้ในเซลล์สามเซลล์ในคอลัมน์ C (C1:C3)
สูตรอาร์เรย์ที่สร้างหลายผลลัพธ์   

เมื่อคุณป้อนสูตร =TREND(B1:B3,A1:A3) เป็นสูตรอาร์เรย์ สูตรจะสร้างผลลัพธ์แยกกันสามค่า (22196, 17079 และ 11962) จากตัวเลขการขายทั้งสามค่า และเดือนสามเดือน
การใช้ค่าคงที่อาร์เรย์
ในสูตรแบบปกติ คุณสามารถใส่การอ้างอิงไปยังเซลล์ที่มีค่า หรือใส่ค่านั้นเลย (ที่เรียกว่าค่าคงที่) ก็ได้ ในทำนองเดียวกัน ในสูตรอาร์เรย์ คุณก็สามารถใส่การอ้างอิงไปยังอาร์เรย์ หรือใส่อาร์เรย์ของค่าที่มีอยู่ภายในเซลล์ (ที่เรียกว่าค่าคงที่อาร์เรย์) ได้เช่นกัน สูตรอาร์เรย์จะยอมรับค่าคงที่ในแบบเดียวกับสูตรที่ไม่ใช่อาร์เรย์ (non-array)ยอมรับ แต่คุณจะต้องป้อนค่าคงที่อาร์เรย์ในรูปแบบเฉพาะตัว
ค่าคงที่อาร์เรย์อาจประกอบด้วยตัวเลข ข้อความ ค่าตรรกะ (เช่น TRUE หรือ FALSE) หรือค่าความผิดพลาด (เช่น #N/A) ชนิดของค่าที่แตกต่างกันสามารถอยู่ในค่าคงที่อาร์เรย์เดียวกันได้  ตัวอย่างเช่น {1,3,4;TRUE,FALSE,TRUE} ตัวเลขในค่าคงที่อาร์เรย์อาจเป็นจำนวนเต็ม ทศนิยม หรือรูปแบบเชิงวิทยาศาสตร์ ข้อความจะต้องอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศคู่ ตัวอย่างเช่น "วันอังคาร"
ค่าคงที่อาร์เรย์ไม่สามารถมีการอ้างอิงเซลล์ คอลัมน์หรือแถวที่มีความยาวต่างกัน สูตร หรืออักขระพิเศษ $ (เครื่องหมายดอลลาร์) วงเล็บ หรือ % (เครื่องหมายเปอร์เซ็นต์)
เมื่อคุณจัดรูปแบบค่าคงที่อาร์เรย์ ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณ
·         ใส่ค่าคงที่อาร์เรย์ในวงเล็บปีกกา ( { } )
·         แยกค่าที่อยู่ต่างคอลัมน์กันด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการระบุค่า 10, 20, 30 และ 40 ให้ใส่ {10,20,30,40} ค่าคงที่อาร์เรย์นี้เรียกว่า อาร์เรย์คูณ 4 และเท่ากับการอ้างอิง 1 แถวคูณ 4 คอลัมน์
·         แยกค่าที่อยู่ต่างแถวกันโดยใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการระบุค่า 10, 20, 30 และ 40 ในแถวหนึ่ง และ 50, 60, 70 และ 80 ในแถวถัดไปด้านล่าง ให้ใส่ค่าคงที่อาร์เรย์ 2 คูณ 4 ดังนี้ {10,20,30,40;50,60,70,80}
ท       ที่มา:http://www.skr.ac.th/link/web_education/web_teacher/com/ben/web_30201/website

          บทที่ การสร้างแผนภูมิและการพิมพรายงาน

1.                     1. 1 MICROSOFT WORD 2007 การสร้างแผนภูมิ แผนภูมิเป็นทัศนวัสดุที่แสดงความสัมพันธ์ของเรื่องราวต่างๆ โดยอาศัยเส้น ของตัวอักษร และภาพลายเส้น หรือภาพโครงร่าง เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในเรื่องราว การสร้างแผนภูมิ 1. คลิกที่ แท็บแทรก 2. ในกลุ่มของ ภาพประกอบ 3. เลือกที่ แผนภูมิ เมื่อได้แผนภูมิที่ต้องการแล้ว ให้คลิกที่ ตกลง แหล่งเรียนรู้ที่ การสร้าง แผนภูมิ เลือก แผนภูมิ เลือกรูปแบบของแผนภูมิ คลิกที่ ตกลง
2.                     2. 2 MICROSOFT WORD 2007 โปรแกรมจะเชื่อมต่อเข้ากับ Microsoft Excel เพื่อให้กรอกข้อมูล โดยสามารถแก้ไขข้อมูลต่างๆ ได้ โปรแกรมจะดึงข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อมาสร้างเป็นแผนภูมิใน Microsoft Word หากต้องการที่จะแก้ไข ข้อมูลในแผนภูมิ ดังกล่าว สามารถดับเบิลคลิกที่แผนภูมิ โปรแกรมจะ นาเข้าสู่ Microsoft Excel อีกครั้ง เพื่อแก้ไขข้อมูล เลือกรูปแบบแผนภูมิที่ต้องการ โดยมีรูปแบบทั้ง มิติ และ มิติ หากต้องการที่จะสร้างผนภูมิด้วย ข้อมูลของตนเองนั้น โปรแกรม Microsoft Word2007 ต้องอาศัยการนาเข้าข้อมูลจาก Microsoft Excel เท่านั้น หากต้องการดาเนินการต้องเปิดโปรแกรม Microsoft Excel ขึ้นมาเพื่อกรอกข้อมูล แผนภูมิที่ได้ ตกแต่งแผนภูมิ
3.                     3. 3 MICROSOFT WORD 2007 การสร้างแผนภูมิด้วยข้อมูลขของตนเอง 1. เปิดโปรแกรม Microsoft Excel 2. พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการลงไปในโปรแกรม 3. เลือกข้อมูลที่ต้องการในการสร้างแผนภูมิ 4. เลือก แท็บแทรก เลือก แผนภูมิ 5. เลือกรูปแบบแผนภูมิที่ต้องการ เมื่อเลือกรูปแบบแผนภูมิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะได้แผนภูมิขึ้นมา พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการ เลือกชุดข้อมูลที่ต้องการ เลือกแผนภูมิที่ต้องการ เลือกตกแต่งแผนภูมิ แผนภูมิที่ได้
4.                     4. 4 MICROSOFT WORD 2007 จากนั้นการนาแผนภูมิเข้าสู่ Microsoft Word ทาได้โดยการ คัดลอกเอาแผนภูมิ ที่สร้างเสร็จแล้ว ไป วางยังหน้าเอกสารของ Microsoft Word โดยข้อมูลต่างๆ สามารถแก้ไขได้จากหน้าของ Microsoft Excel โดยข้อมูลต่างๆ จะถูกแก้ไขแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องคัดลอกแผนภูมิจาก Microsoft Excel ใส่ในหน้าเอกสารใหม่ 1. เลือกแผนภูมิจาก Microsoft Excel 2. คลิกที่ คัดลอก 3. เปิดเอกสารในหน้าที่ต้องการ 4. คลิกที่ วาง หากต้องการที่จะแก้ไขข้อมูลในแผนภูมิ สามารถทาได้โดยการ คลิกขวา ที่แผนภูมิ แล้วเลือกที่ แก้ไขข้อมูล ระบบจะนาเข้าสู่หน้าของ Excel อีกครั้งเพื่อทาการแก้ไขข้อมูล โดยข้อมูลจะอัพเดทจาก Excel อัตโนมติ ข้อมูลนักเรียน ม.1/1 ม.1/2 ม.1/3 ม.1/4 ม.1/5 ม.1/6 คัดลอกแผนภูมิ เมื่อคัดลอกมาวางที่ Word แก้ไขข้อมูล
ที่มา :http://www.slideshare.net/veerapongtak/lesson7-25844213

                         บทที่9โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล

        (Graphic Presentation Program)

โปรแกรมการนำเสนอข้อมูลคือ โปรแกรมสำหรับจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการนำเสนอข้อมูล เช่น แผ่นใส สไลด์ โปสเตอร์ เอกสารสำหรับผู้ฟัง หรือเอกสารสรุปสำหรับผู้พูด หากจะต้องเตรียมเอกสารเหล่านี้ด้วยมือทั้งหมด ก็จะต้องเตรียมงานในปริมาณที่ค่อนข้างมาก และต้องทำงานซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองเวลา ดังนั้น การนำเสนอข้อมูลในปัจจุบันจึงนิยมใช้โปรแกรมการนำเสนอข้อมูลแทน ซึ่งโปรแกรมการนำเสนอข้อมูลไม่ค่อยมีการปรับเปลี่ยนมากนัก มีเพียงการเพิ่มเติมส่วนการช่วยเหลือแนะนำ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวกรวดเร็วขึ้น เพิ่มความสามารถในการนำเสนอข้อมูลแบบสื่อประสม ที่มีทั้งข้อความ (Text) กราฟิก (Graphic) เสียง (Sound) วีดิทัศน์ (Video) เพิ่มความสามารถในการสร้างแฟ้มข้อมูลที่เป็นเอกสารเว็บ เพื่อให้ทันสมัยในยุคอินเทอร์เน็ตอีกด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมต่างๆ ได้ เช่น ความสามารถในการดึงข้อมูลจากโปรแกรมแผ่นตารางทำการ และโปรแกรมประมวลผลคำ เข้ามาใช้งานร่วมกัน เป็นต้น



ขั้นตอนการทำสไลด์ประกอบการบรรยายโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ ซึ่งเป็นโปรแกรมการนำเสนอข้อมูลประเภทหนึ่ง 

คุณสมบัติทั่วไปของโปรแกรมการนำเสนอข้อมูลคือ การเริ่มต้นใช้งานได้ง่าย มีวัตถุดิบให้เลือกใช้มากมาย ความสามารถในการจัดการกับสไลด์ได้ง่าย และความสามารถในการควบคุมการแสดงผลของข้อมูลได้ดี
การเริ่มต้นใช้งานได้ง่าย หมายถึง โปรแกรมได้จัดเตรียมรูปแบบสไลด์ ที่จะนำเสนอข้อมูล ให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความพอใจ และตามความเหมาะสมของงาน โดยไม่จำเป็นต้องสร้างรูปแบบขึ้นมาเอง โปรแกรมบางโปรแกรมได้พัฒนาให้มีความสะดวกสำหรับผู้ใช้มือใหม่ ด้วยการเรียกใช้ส่วนช่วยเหลือแนะนำการสร้างงานนำเสนอข้อมูลที่ละขั้นตอนจนเสร็จ เพื่อให้ได้งานที่ถูกใจ นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังไม่จำเป็นต้องมีฝีมือทางศิลปะ และมีความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษ ก็สามารถสร้างงานสำหรับนำเสนอข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สวยงาม และสะดุดตา เพราะโปรแกรมการนำเสนอข้อมูลมีวัตถุดิบให้เลือกใช้มากมาย นอกจากข้อความ (Text) แล้วยังมีข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ เช่น แผนผัง ( Chart) กราฟิก (Graphic)เสียง (Sound) วีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น โปรแกรมรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันจึงได้เพิ่มแฟ้มข้อมูลของวัตถุดิบเหล่านี้ไว้มากมายให้เลือกใช้ได้ตามความพอใจ ดังนั้น งานนำเสนอข้อมูลแบบใหม่จึงเป็นการแสดงข้อมูลที่ผสมผสานข้อมูลรูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน เรียกว่า การนำเสนอข้อมูลแบบสื่อประสม (Multimedia) ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เหล่านั้นจึงจัดเป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับการสร้างงานนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจและเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ความสามารถในการจัดการกับสไลด์ได้ง่าย หมายถึง ความสามารถในการกำหนดรูปแบบหลัก หรือรายละเอียดอื่นๆ ของสไลด์ไว้เพียงครั้งเดียว เช่น สีของพื้นหลังสไลด์ สีของข้อความ รูปแบบตัวอักษร เป็นต้น จากนั้น จึงนำรูปแบบหลักนี้ไปใช้กับทุกสไลด์ที่อยู่ในแฟ้มข้อมูลนั้นให้กับหน้าหลักเพียงหน้าเดียว ถ้ามีการแก้ไขปรับแต่งในภายหลัง ก็สามารถทำได้ในหน้าหลักเพียงหน้าเดียวเช่นกัน โดยโปรแกรมจะแก้ไขให้เองอย่างอัตโนมัติในทุก ๆ หน้า การสร้างหน้าใหม่ การลบสไลด์บางหน้า หรือการสับเปลี่ยนลำดับการแสดงผล สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องสร้างไปเรียงไปทีละหน้าให้ถูกต้องตั้งแต่แรก
ความสามารถในการควบคุมการแสดงผลของข้อมูลได้ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุม การเปลี่ยนหน้าสไลด์แต่ละหน้า หรือการแสดงข้อความแต่ละบรรทัดแตกต่างกัน ตามความเหมาะสม เช่น ให้จอภาพของสไลด์หน้าที่แสดงเสร็จแล้ว ค่อยๆ เลื่อนออกไปทางด้านใดด้านหนึ่ง แล้วค่อยให้สไลด์หน้าต่อไปมาปรากฏแทน หรือในการกำหนดการแสดงข้อความ อาจกำหนดให้ข้อความค่อยๆ เลื่อนลงมาจากข้างบน หรือจากข้อความที่เลือนลาง แล้วค่อยๆ ปรากฏชัดขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้น ความสามารถนี้ช่วยให้การนำเสนอข้อมูลมีการเคลื่อนไหว จึงทำให้ไม่น่าเบื่อและน่าสนใจยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ในการสร้างงานนำเสนอข้อมูลที่ผ่านมา บางโปรแกรมสามารถสร้างแฟ้มข้อมูลหนึ่งแฟ้มต่อสไลด์หนึ่งหน้า ดังนั้น การแสดงผลข้อมูลเพียงรูปแบบเดียวก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับโปรแกรมที่สามารถสร้างสไลด์ได้หลายหน้า โดยบันทึกไว้ในแฟ้มข้อมูลเพียงแฟ้มเดียว ก็จำเป็นจะต้องมีวิธีแสดงผลข้อมูลในหลายรูปแบบ การแสดงผลข้อมูลแต่ละรูปแบบนี้เรียกว่า มุมมองเพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำงานกับสไลด์ได้สะดวกยิ่งขึ้น 




มุมมองที่แสดงให้เห็นสไลด์ทุกๆ หน้าพร้อมกัน เพื่อประโยชน์ในการจัดลำดับของสไลด์ที่จะนำเสนอได้อย่างชัดเจน 

มุมมองต่างๆ สำหรับการแสดงผลข้อมูล เช่น มุมมองแบบเรียงลำดับหน้าสไลด์ คือ จะแสดงให้เห็นสไลด์ทุกๆ หน้าพร้อมกัน และเห็นลำดับการจัดเรียงหน้าสไลด์ได้ทันที ดังนั้น ถ้าต้องการสับเปลี่ยนลำดับการแสดงผลข้อมูลใหม่ ก็สามารถทำได้ทันทีในขณะที่อยู่ในมุมมองนี้ โดยเลือกสไลด์หน้าที่ต้องการเปลี่ยนตำแหน่ง แล้วดึงไปวางในตำแหน่งตามต้องการ หรือมุมมองแบบที่สามารถเขียนคำอธิบายสไลด์กำกับไว้ใต้สไลด์แต่ละหน้า เพื่อใช้เป็นเอกสารสำหรับผู้พูด หรือมุมมองแบบแสดงผลเต็มหน้าจอสำหรับสไลด์ทีละหน้าตามลำดับก่อนหลังที่ได้เรียงไว้ มุมมองแบบนี้จะเป็นมุมมองที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลจริง ๆ ดังนั้น ผู้ใช้สามารถตรวจสอบการแสดงผลข้อมูลจริงได้จากมุมมองนี้
ที่มา: http://kanchanapisek.or.th/


                    บทที่10 การปรับแต่งงานนำเสนอ และการสร้างกราฟ
  
ของการทำกราฟ มีดังนี้ 
1.       Think : คิดวัตถุประสงค์ของการนำเสนอกราฟ
2.       Prepare : เตรียมข้อมูล (เช่น สรุปข้อมูลจาก Data ดิบ)
3.       Create : สร้างกราฟ
4.       Customize : ปรับแต่งกราฟ
5.       Summarize : สรุปผลของกราฟ
เรามาดูที่ Step แรกกันก่อนครับ
1. Think : คิดวัตถุประสงค์ของการนำเสนอกราฟ
วัตถุประสงค์ของการทำกราฟนั้นมีอยู่ค่อนข้างหลากหลาย ส่วนตัวของผมเองมองว่าที่สำคัญคือเราต้องรู้ว่าเราอยากจะสื่อสารอะไร และถ้าเป็นไปได้ ควรวาดภาพในใจก่อนว่ากราฟควรจะออกมาหน้าตาแบบไหน (ทำในจิตนาการก่อน ค่อยทำใน Excel)
วัตถุประสงค์ที่เจอบ่อยๆ เช่น
·                     การเปรียบเทียบข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น เทียบระหว่างแต่ละกลุ่มเทียบกับมาตรฐาน หรือ เป้าหมายบางอย่าง
·                     บอกการแจกแจงความถี่ เพื่อให้เห็นการกระจายตัวของข้อมูล 
·                     บอกสัดส่วนขององค์ประกอบ : เพื่อบอกองค์ประกอบว่าแต่ละส่วนมีมากน้อยแค่ไหน
·                     การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เช่น การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว
·                     บอกแนวโน้ม คาดการณ์อนาคต
·                     แสดงให้เห็นลำดับเหตุการณ์ หรือ Timeline โครงการ
·                     อื่นๆ
Tips ในการเลือก Chart ที่เหมาะสม
1.       กราฟที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์แต่ละแบบ ดูได้ที่นี่
 http://labs.juiceanalytics.com/chartchooser/index.html


2.       เลือกกราฟ Basic ที่สุดถ้าเป็นไปได้ : ผมไม่แนะนำให้ใช้กราฟในรูปแบบที่ประหลาดๆ โดยเฉพาะพวกกราฟ 3 มิตินะครับ เพราะนอกจากจะดูรกแล้ว ยังหลอกตาสุดๆ อีกด้วย
3.       ถ้าจะใช้เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่ม : ผมแนะนำให้ใช้พวกการฟแท่ง ดีกว่ากราฟวงกลมนะครับ เพราะกรางวงกลมดูยากมากว่ามันมากน้อยแค่ไหน (คนเราเทียบความสูงต่ำ ง่ายกว่าเทียบมุมแคบกว้าง)
4.       ถ้าจะแสดงแนวโน้ม : ผมแนะนำกราฟเส้น หรือ Scatter Plot แล้วใส่ Trend line จะเหมาะที่สุดครับ

2. Prepare : เตรียมข้อมูล
การเตรียมข้อมูลเพื่อการทำกราฟ หลายๆครั้ง เราอาจต้องพึ่งพาความรู้พื้นฐานเหล่านี้ก่อน


·                     Function พวกที่ใช้เพื่อการสรุปข้อมูล เช่น SUM, COUNT, AVERAGE, MAX, MIN, SUMIF, COUNTIF
·                     การใช้ Sort & Filter หรือ Advanced Filter => อ่านได้ที่นี่ การกรองข้อมูลใน Excel ด้วย Filter & Sort และ Advanced Filter
·                     การใช้ Pivot Table (เป็นวิธีที่สะดวกมาก แนะนำเลย) ใครสนใจการสรุปข้อมูลด้วย Pivot Table เชิญอ่านได้ที่  สรุปทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ Pivot Table
·                     ปกติแล้ว เรามักจะเตรียมข้อมูลให้เหมือนกับเตรียมฐานข้อมูลตามปกติ คือ
o                  ใส่ข้อมูลแต่ละ Record (แต่ละราย แต่ละกลุ่ม) แยกไว้คนละแถวกัน
o                  ใส่การวัดข้อมูลในแต่ละมิติ ไว้แยกคอลัมน์กัน (คล้ายๆกับ Field ข้อมูลใน Database)
o                  ตรงนี้ไม่ต้องซีเรียส เพราะสามารถปรับแต่งภายหลังได้ง่ายๆ มากๆ ครับ
o                  ที่สำคัญควรใส่ Label ของข้อมูลให้ครบถ้วยด้วยถ้าเป็นไปได้
3. Create : การสร้างกราฟ
มาถึงขั้นตอนนี้ก็เข้าหน้าที่หลักของ Excel แล้วล่ะครับ
·                     เมื่อเรามีข้อมูลเตรียมไว้ในตารางแล้ว ให้เราลาก Selection ครอบคลุมพื้นที่ของข้อมูลทั้งหมด จากนั้นไปที่ Ribbon Insert => Chart => เลือกรูปแบบที่ต้องการตามที่ได้แนะนำไปข้างบน
·                     เมื่อเราเลือกรูปแบบกราฟไปแล้ว ถ้ากราฟมันสร้างออกมาสลับแกน x แกน y กับสิ่งที่เราคิดไว้แต่แรก เราสามารถกดปุ่ม Switch Row/Column ที่อยู่บน Ribbon Chart Tools => Design ได้เลยครับ (ต้องคลิ๊กที่ Chart ก่อน Ribbon นี้ถึงจะโผล่มาให้เห็น)
·                     บางครั้งเมื่อเราสร้างกราฟแล้ว ต่อไปอยากจะใส่ข้อมูลเพิ่มลงไปอีก มีวิธีง่ายๆ ที่ไม่ต้องเข้าไปนั่งแก้ที่ Select Data เลย นั่นก็คือ สามารถกด Copyข้อมูลจากตาราง (Ctrl+C) แล้วเลือกที่กราฟ จากนั้นกด Paste (Ctrl+V) ลงไปเลยตรงๆครับ
o                  ในตัวอย่างนี้ ผมเพิ่มทั้งแถวทั้งคอลัมน์ จึงต้อง copy 2 รอบครับ
·                      
4. Customize : ปรับแต่งกราฟ
ต่อไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย นั่นคือการปรับแต่งกราฟ ซึ่งการที่เราจะปรับแต่งกราฟได้นั้น เราต้องรู้จักส่วนประกอบของกราฟซะก่อนครับ
ส่วนประกอบของกราฟ หลักๆ มีดังนี้
·                     Chart Area : พื้นที่ของกราฟทั้งหมด
·                     Plot Area : พื้นที่ที่มีการพลอตข้อมูลลงไปจริงๆ
·                     Label ป้ายกำกับ
o                  Chart Title : ชื่อกราฟ
o                  Axis Title : ชื่อแกน
§                Horizontal : แกนนอน
§                Vertical : แกนตั้ง
o                  Legend : เพื่อบอกว่าซีรีส์อะไรคืออะไร
o                  Data Label : บอกค่าของ Data
o                  Data Table : ตารางข้อมูลต้นฉบับ
·                     Axes แกน
o                  Axes
§                Vertical Axis : แกนตั้ง
§                Horizontal Axis : แกนนอน
o                  Gridlines : เส้นกริด ทั้งทั้งแกนนอนแกนตั้ง และ Major, minor
·                     Series คือตัวข้อมูลจริงๆ
o                  Series Name : ชื่อของข้อมูล
o                  Series Value : ค่าของข้อมูล
·                     Category Label : ชื่อประเภทข้อมูล (มักอยู่ที่แกนนอน)
วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะเข้าใจส่วนประกอบของกราฟ ก็คือ ให้ไปที่ Ribbon Layout ที่อยู่ภายใต้ Chart Tools เลยครับ (ต้องเลือกที่กราฟก่อน) ในนั้นจะแบ่งออกเป็นหลายๆ หมวด ดังนี้
·                     Current Selection : เอาไว้เลือกส่วนประกอบของกราฟ มีประโยชน์มากเวลามีส่วนประกอบหลายๆ อันบังกันอยู่ ลองคลิ๊กดูแล้วจะรู้ว่าแต่ละส่วนเรียกว่าอะไร
o                  พอเลือกแล้วสามารถกด Format Selection เพื่อปรับแต่งแต่ละส่วนได้อีก
·                     เราสามาถ เพิ่ม/ลด ส่วนประกอบของกราฟได้ โดยไปที่เมนู Ribbon แต่ละอัน เช่น Chart Title, Axis Title, Legend, Data Label แล้วเลือก optionจาก Drop down เป็นต้น
เป็นอย่างไรครับกับพื้นฐานการทำกราฟ การปรับแต่งกราฟไม่ได้จบแค่นี้ เดี๋ยวตอนหน้าเราจะมาเจาะลึกลงรายละเอียดมากกว่านี้ครับ ทั้งการผสมกราฟ การทำกราฟแกน y 2 อัน หรือแกน x 2อัน การประยุกต์สร้างกราฟที่ไม่มีให้เลือก และอื่นๆ อีกมากมาย อย่าลืมติดตามกันต่อไปนะครับ

ที่มา: http://www.inwexcel.com/


บทที่11  การทำให้ข้อความหรือวัตถุเคลื่อนไหว
นำไปใช้กับ: PowerPoint 2010
คุณสามารถทำให้ข้อความ รูปภาพ รูปร่าง ตาราง กราฟิก SmartArt และวัตถุอื่นๆ เคลื่อนไหว ในการนำเสนอ Microsoft PowerPoint 2010 ของคุณเพื่อทำให้มีลักษณะพิเศษแบบเป็นภาพ ซึ่งรวมถึงลักษณะการเข้า ออก การเปลี่ยนขนาดหรือสี ตลอดจนการเคลื่อนย้าย
หมายเหตุ: การเปลี่ยนภาพเป็นอีกวิธีที่คุณสามารถเพิ่มลักษณะพิเศษแบบเป็นภาพให้กับภาพนิ่งของคุณได้ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีเพิ่มการเปลี่ยนภาพระหว่างภาพนิ่ง ให้ดู การเพิ่มการเปลี่ยนภาพระหว่างภาพนิ่ง
ในบทความนี้
ภาพรวมของการทำให้ข้อความและวัตถุเคลื่อนไหว
ภาพเคลื่อนไหวเป็นวิธีที่ดีในการเน้นไปที่จุดสำคัญ ในการควบคุมลำดับของข้อมูล และการเพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้ชมงานนำเสนอของคุณ คุณสามารถนำลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวไปใช้กับข้อความหรือวัตถุบนภาพนิ่งแต่ละภาพ นำไปใช้กับข้อความและวัตถุบน ต้นแบบสไลด์ หรือนำไปใช้กับพื้นที่ที่สำรองไว้บนเค้าโครงภาพนิ่งแบบกำหนดเอง
ลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวใน PowerPoint 2010 มีสี่ประเภทด้วยกัน คือ
·         ลักษณะพิเศษ เข้า ตัวอย่างเช่น คุณสามารถทำให้วัตถุค่อยๆ เลือนเข้าสู่โฟกัส ลอยเข้าสู่ภาพนิ่งจากขอบ หรือเด้งเข้ามาในมุมมอง
·         ลักษณะพิเศษ ออก ซึ่งรวมถึงการทำให้วัตถุลอยออกจากภาพนิ่ง หายไปจากมุมมอง หรือหมุนวนออกจากภาพนิ่ง
·         ลักษณะพิเศษ เน้น ตัวอย่างเช่น การทำให้วัตถุลดหรือเพิ่มขนาด เปลี่ยนสี หรือหมุนรอบตัวเอง
·         เส้นทางการเคลื่อนไหว คุณสามารถใช้ลักษณะพิเศษรูปแบบนี้เพื่อทำให้วัตถุเคลื่อนย้ายขึ้นหรือลง ไปทางซ้ายหรือขวา หรือมีเส้นทางเป็นลวดลายรูปดาวหรือวงกลม (ท่ามกลางลักษณะพิเศษอื่นๆ)
คุณสามารถใช้เฉพาะภาพเคลื่อนไหวนั้น หรือใช้รวมกับลักษณะพิเศษที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น คุณสามารถสร้างเส้นการลอยของข้อความจากด้านซ้ายขณะที่เพิ่มขนาดข้อความด้วยการใช้ลักษณะพิเศษเข้า ลอยเข้า และลักษณะพิเศษเน้น เพิ่ม/ลด ข้อความนั้นได้
เมื่อต้องการศึกษาเกี่ยวกับวิธีเพิ่มลักษณะพิเศษหลายลักษณะลงบนวัตถุเดียว ให้ดูที่ การนำลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวหลายลักษณะไปใช้กับวัตถุเดียว
การเพิ่มภาพเคลื่อนไหวลงในวัตถุ
เมื่อต้องการเพิ่มลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวลงในวัตถุ ให้ทำดังต่อไปนี้
1.       เลือกวัตถุที่คุณต้องการให้เคลื่อนไหว
2.       บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม ภาพเคลื่อนไหว ให้คลิกปุ่ม เพิ่มเติม  แล้วเลือกลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวที่คุณต้องการ
หมายเหตุ: 


o    ถ้าคุณไม่เห็นลักษณะพิเศษเข้า ออก เน้น หรือเส้นทางการเคลื่อนไหวที่คุณต้องการ ให้คลิก ลักษณะพิเศษเข้าเพิ่มเติมลักษณะพิเศษเน้นเพิ่มเติมลักษณะพิเศษออกเพิ่มเติม หรือ เส้นทางการเคลื่อนไหวเพิ่มเติม
o    ลักษณะพิเศษเข้าและออก (เช่น พลิก หล่น และคลี่) และลักษณะพิเศษการเน้นบางส่วน (เช่น ระบายสีและคลื่น) จะใช้งานได้กับวัตถุที่มีข้อความเท่านั้น ถ้าคุณต้องการใช้ลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวที่ใช้งานไม่ได้เพราะวัตถุของคุณไม่มีข้อความ ให้ลองเพิ่มช่องว่างภายในวัตถุของคุณ
o    หลังจากที่คุณนำภาพเคลื่อนไหวไปใช้กับวัตถุหรือข้อความแล้ว รายการที่เคลื่อนไหวจะมีป้ายชื่อแท็กลำดับเลขที่ไม่พิมพ์ออกมาระบุอยู่บนภาพนิ่ง ซึ่งแสดงอยู่ใกล้กับข้อความหรือวัตถุนั้น แท็กจะปรากฏในมุมมองปกติ เมื่อมีการเลือกแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ไว้ หรือเมื่อบานหน้าต่างงาน ภาพเคลื่อนไหว มองเห็นได้เท่านั้น
การนำลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวหลายลักษณะไปใช้กับวัตถุเดียว
เมื่อต้องการนำภาพเคลื่อนไหวหลายลักษณะไปใช้กับวัตถุเดียว ให้ทำดังต่อไปนี้
1.       เลือกข้อความหรือวัตถุที่คุณต้องการเพิ่มภาพเคลื่อนไหวหลายลักษณะ
2.       บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม ภาพเคลื่อนไหวขั้นสูง ให้คลิก เพิ่มภาพเคลื่อนไหว

การดูรายการของภาพเคลื่อนไหวที่มีอยู่บนภาพนิ่งในปัจจุบัน


คุณสามารถดูรายการของภาพเคลื่อนไหวทั้งหมดที่อยู่บนภาพนิ่งได้ในบานหน้าต่างงานภาพเคลื่อนไหว ซึ่งจะแสดงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหว เช่น ชนิดของลักษณะพิเศษ ลำดับของลักษณะพิเศษหลายลักษณะที่สัมพันธ์กัน ชื่อของวัตถุที่ได้รับผลกระทบ และระยะเวลาของลักษณะพิเศษ
เมื่อต้องการเปิดบานหน้าต่างงานภาพเคลื่อนไหว บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม ภาพเคลื่อนไหวขั้นสูง ให้คลิก บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว


1. ในบานหน้าต่างงาน หมายเลขจะระบุลำดับที่จะเล่นลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหว หมายเลขในบานหน้าต่างงานจะสอดคล้องกับแท็กลำดับหมายเลขที่ไม่พิมพ์ออกมาซึ่งแสดงอยู่บนภาพนิ่ง
2. เส้นเวลาแสดงระยะเวลาของลักษณะพิเศษ
3. ไอคอนแสดงถึงชนิดของลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหว ในตัวอย่างนี้ เป็นชนิดลักษณะพิเศษ ออก
4. เลือกข้อมูลในรายการเพื่อดูไอคอนเมนู (ลูกศรลง) แล้วคลิกไอคอนเพื่อแสดงเมนู
หมายเหตุ: 
·         ลักษณะพิเศษจะปรากฏในบานหน้าต่างงานภาพเคลื่อนไหวตามลำดับที่คุณเพิ่มลักษณะพิเศษเหล่านั้น
·         นอกจากนี้ คุณยังสามารถดูไอคอนที่ระบุเวลาเริ่มต้นของลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์อื่นๆ บนภาพนิ่งได้ เมื่อต้องการดูไอคอนการกำหนดเวลาเริ่มต้นของภาพเคลื่อนไหวทั้งหมด ให้คลิกไอคอนเมนูถัดจากลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวและเลือกซ่อนเส้นเวลาขั้นสูง
·         มีไอคอนหลายชนิดที่ระบุการกำหนดเวลาเริ่มต้นของลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหว ตัวเลือกต่างๆ มีดังต่อไปนี้
o    เริ่มโดยการคลิก (ไอคอนรูปเมาส์ แสดงไว้ที่นี่) ลักษณะพิเศษจะเริ่มขึ้นเมื่อคุณคลิกเมาส์
o    เริ่มกับก่อนหน้า (ไม่มีไอคอน) ลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวจะเริ่มขึ้นในเวลาเดียวกันกับลักษณะพิเศษก่อนหน้านี้ในรายการ การตั้งค่านี้จะรวมให้เกิดลักษณะพิเศษหลายรายการพร้อมกัน
o    เริ่มหลังจากก่อนหน้า (ไอคอนรูปนาฬิกา) ลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวจะเริ่มขึ้นในทันทีหลังจากที่ลักษณะพิเศษก่อนหน้านี้ในรายการเล่นเสร็จ
การตั้งค่าตัวเลือกลักษณะพิเศษ การกำหนดเวลา หรือลำดับของภาพเคลื่อนไหว
·         เมื่อต้องการตั้งค่าตัวเลือกลักษณะพิเศษสำหรับภาพเคลื่อนไหว บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม ภาพเคลื่อนไหว ให้คลิกลูกศรทางด้านขวาของ ตัวเลือกลักษณะพิเศษ และคลิกตัวเลือกที่คุณต้องการ
·         คุณสามารถระบุการกำหนดเวลาเริ่มต้น ระยะเวลา หรือการหน่วงเวลาสำหรับภาพเคลื่อนไหวได้บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว
o    เมื่อต้องการตั้งค่าการกำหนดเวลาเริ่มต้น สำหรับภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม การกำหนดเวลา ให้คลิกลูกศรทางด้านขวาของเมนู เริ่ม และเลือกเวลาที่คุณต้องการ
o    เมื่อต้องการตั้งค่าระยะเวลาของระยะเวลาที่ภาพเคลื่อนไหวจะทำงาน ในกลุ่ม การกำหนดเวลา ให้ใส่จำนวนวินาทีที่คุณต้องการในกล่องระยะเวลา
o    เมื่อต้องการตั้งค่าการหน่วงเวลาก่อนที่ภาพเคลื่อนไหวจะเริ่มขึ้น ในกลุ่ม การกำหนดเวลา ให้ใส่จำนวนวินาทีที่คุณต้องการในกล่อง การหน่วงเวลา
·         เมื่อต้องการ จัดลำดับใหม่ ให้กับภาพเคลื่อนไหวในรายการ ในบานหน้าต่างงาน ภาพเคลื่อนไหว ให้เลือกภาพเคลื่อนไหวที่คุณต้องการจัดลำดับใหม่ และบนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม การกำหนดเวลา ภายใต้ จัดลำดับภาพเคลื่อนไหวใหม่ ให้เลือก ย้ายไปก่อนหน้านี้ เพื่อให้ภาพเคลื่อนไหวเกิดขึ้นก่อนภาพเคลื่อนไหวอื่นในรายการ หรือเลือก ย้ายไปหลังจากนี้ เพื่อให้ภาพเคลื่อนไหวเกิดขึ้นหลังภาพเคลื่อนไหวอื่นในรายการ
การทดสอบลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวของคุณ
หลังจากที่คุณเพิ่มลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวหนึ่งลักษณะหรือมากกว่าแล้ว เมื่อต้องการตรวจสอบว่าใช้ได้หรือไม่ ให้ทำดังต่อไปนี้

·         บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม แสดงตัวอย่าง ให้คลิก แสดงตัวอย่าง
ที่มา: https://support.office.com




       บทที่12 การใช้อินเตอร์เน็ตและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
        การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ดการติดตามข่าวสารการสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูลการชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ , การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯการติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning),การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่นๆ
      แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet)มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก
         1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronoc mail หรือ e-mail ) เป็นการส่งข้อความติดต่อกันระหว่างบุคคลกับบุคคลก็ได้ หากเปรียบเทียบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับไปรษณีย์ธรรมดาจะพบว่าโดยหลักการนั้นไม่แตกต่างกันมากนัก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนบุรุษไปรษณีย์ให้เป็นโปรแกรม เปลี่ยนรูปแบบการจ่าหน้าซองจดหมายให้เป็นการจ่าหน้าแบบอ้างอิงระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email address) การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีรูปแบบที่ง่าย สะดวกและรวดเร็ว
        2) การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน (File Transfer Protocol : FTP) เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานีให้บริการการเก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่างๆ และให้บริการ ผู้ใช้สมารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น โปรแกรม cuteFTP โปรแกรม wsFTP เป็นต้น
3) การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล (telnet) การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย ทำให้เราสามารถติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการในที่ห่างไกลได้ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอม ทำให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย เช่น นักเรียนในประเทศไทยส่งโปรแกรมไปประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในบริษัทในประเทศญี่ปุ่นผ่านทางระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปเอง
4) การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร (search engine) ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปส่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สมารถเรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์ ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาข้อมูลใดๆ ก็ได้ ฐานข้อมูลในลักษณะนี้เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (Wold Wide Wed : WWW) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
5) การอ่านจากกลุ่มข่าว (USENET) ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่มๆ แยกตามความสนใจ แต่ละกลุ่มข่าวอนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความไปได้ และหากผู้ใดต้องการเขียนโต้ตอบก็สามารถเขียนได้ กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายและกระจายข่าวได้รวดเร็ว
6) การสนทนาบนเครือข่าย (chat) เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วโลกผู้ใช้จึงสามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนากันด้วยตัวหนังสือ เพื่อโต้ตอบกันแบบทีนทีทันใดบนจอภาพ ตอมามีผู้พัฒนาให้ใช้เสียงได้จนถึงปัจจุบัน ถ้าระบบสื่อสารข้อมูลมีความเร็วพอ ก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้
7) การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย เป็นการ ประยุกต์เพื่อให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถเลือกสถานีที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือนการฟังวิทยุ ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดีทัศน์บนเครือข่ายด้วย แต่ปัญหายังอยู่ที่ความเร็วของเครือข่ายที่ยังไม่สามารถรองรับการส่งข้อมูลจำนวนมาก ทำให้คุณภาพของภาพวีดีทัศน์ยังไม่ดีเท่าที่ควร
         8) การบริการบนอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมีการให้บริการบนอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นมากมายโดยผู้ใช้สามารถใช้บริการโดยอยู่ที่ไหนก็ได้ ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง การบริการบนอินเทอร์เน็ตมีทั้งเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ ซื้อข่ายสินค้า ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และบริการอื่นๆ ซึ่งการให้บริการเหล่านี้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบได้
ที่มา:https://sites.google.com




  บทที่13   ความรับผิดชอบเเละจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบสารสนเทศ


          จริยธรรม หมายถึง "หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ" 


       ในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทำงานของพนักงาน เป็นต้น ตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำราญ เช่น การนำภาพหรือข้อมูลส่วนตัวของบุคคลไปลงบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตการใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย

          1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
          2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
          3 ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
          4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)



1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)

          ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้

          1.การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร

          2.การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม

          3.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด

          4.การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์


2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)

          ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์การให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ อีกประเด็นหนึ่ง คือ จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาด

          ดังนั้น ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น ผู้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความรับผิดชอบ หรือที่สอนเพื่อตรวจสอบว่าคะแนนที่ป้อนไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง



3.ความเป็นเจ้าของ (Information Property)

          สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น

          ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น สำหรับท่านเองหลังจากที่ท่านเปิดกล่องหรือบรรจุภัณฑ์แล้ว หมายถึงว่าท่านได้ยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในการใช้สินค้านั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงครั้งเดียว หรือไม่อนุญาตให้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ ท่านเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้อื่นใช้ก็ตาม ในขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมนั้นได้หลายๆ เครื่อง ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธ์ในระดับใด



4.การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)

          ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น



จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน

          ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด

          ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับของ เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์

          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย
          การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต

          เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข Arlene H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้



จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail)

          ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมล์บ็อกซ์หรืออีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่ง จดหมาย ความรับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมล์ในระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพราะจดหมายมีการรับส่งโดยระบบ ซึ่งหากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมากจะทำให้พื้นที่ บัฟเฟอร์ของจดหมายในระบบหมด จะเป็นผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้ หลายต่อหลายครั้งระบบปฏิเสธการรับส่งจดหมายเพราะไฟล์ระบบเต็ม ดังนั้นจึงควรมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mail box) ของตนเองดังนี้

          1. ตรวจสอบจดหมายทุกวันและจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เลือกภายในโควต้า ที่กำหนด

          2. ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสก็ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย (mail box) มีจำนวนน้อยที่สุด

          3. ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง

พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย



จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา(Chat)

          บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคำสั่งให้ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างออนไลน์หลายคำสั่งเช่น write, talk หรือมีการสนทนา เป็นกลุ่มเช่น IRC เป็นต้น ในการเรียกหาหรือเปิดการสนทนาตลอดจนการสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญได้แก่

          1. ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้

          2. ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียกเพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหาการทำงานได้ เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้

          3. หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียกเพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว

          4. ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น



จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าว ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

          ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบ เช่น ยูสเน็ตนิสว์ (UseNet News) ระบบสมาชิกแจ้งข่าวหลายสมาคม บอกรับสมาชิกและให้ข่าวสารที่สม่ำเสมอกับสมาชิกด้วยการส่งเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า Mailing lists ผู้เสนอ ข่าวและผู้อภิปรายเรื่อง ต่าง ๆ ที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก เช่นข่าวบนยูสเน็ตนิวส์แต่ละกลุ่มเมื่อส่งออกจะกระจาย ไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ ทั่วโลก ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดาษ ข่าวจะต้องเคารพกฏกติกามารยาทโดยเคร่งครัดข้อปฏิบัติที่สำคัญได้แก่

          1. ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพเข้าใจได้

ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง

          2. ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า

          3. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอยหรือข่าวลือหรือเขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ

          4. จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล

          5. ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อ ๆ กันมาการเขียนข่าวจึงควรพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก

          4. ไม่ควรให้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตนในเรื่อง การค้า

          5. การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซ็นตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้

          6. ในการทดสอบการส่งไม่ควรทำพร่ำเพื่อการทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก

          7. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ตัวอักษรใหญ่ที่มีความหมายถึงการตะโกนหรือการแสดงความไม่พอใจใน   8. การเน้น คำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความแทน

          9. ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง

          10. ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขันหรือคำเฉพาะคำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว

          11. ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น

          12. ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่นเช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อและเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา

          13. ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น

          14. เมื่อต้องการใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น

                   IMHO-in my humble / honest opinion

                   FYI-for your information

                   BTW-by the way

          15. การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวและระลึกเสมอว่าข่าวที่เขียนหรือ 16. อภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก

ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น และเมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น

          17. ในการบอกรับข่าวด้วย mailing list และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน (พีซีหรือลบออกจาก mail box และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก



บัญญัติ 10 ประการ

          ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ

          1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น

          2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น

          3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น

          4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

          5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

          6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์

          7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

          8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

          9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ

          10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท

          จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน


ที่มา :http://www.home.kku.ac.th/hslib/412141/412141_2548/.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น